การฟ้องคดีต่อศาลปกครอง
ณัฐกฤช มุสิกะโสภณ
นบ. นม. บปค.
ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องจากการกระทำ หรือการงดเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง หรือกรณีอื่นใดตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและ
วิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ สามารถดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้[๑] แต่การดำเนินคดีในศาลปกครองมีขั้นตอน วิธีการตลอดจนบทบาทของคู่กรณีและของศาลมีความแตกต่างไปจากการดำเนินคดีในศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นระบบที่เราคุ้นเคยกันอยู่ กล่าวคือ การดำเนินคดีในศาลปกครองในกระบวนการพิจารณาแบบไต่สวนเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงในคดี (ใช้เอกสารเป็นหลัก) ส่วนการดำเนินคดีในศาลยุติธรรมใช้กระบวนการพิจารณาแบบกล่าวหาเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริง (ในการเบิกความของพยานบุคคลเป็นหลัก) ดังนั้น ผู้ที่จะฟ้องคดีต่อศาลปกครองจึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลปกครองและเพื่อจะนำไปสู่การยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้อย่างถูกต้อง
๑. คำฟ้อง
คำฟ้อง คือ การที่ผู้ฟ้องคดีเสนอข้อหาด้วยการฟ้องคดีต่อศาลปกครองชั้นต้นหรือศาลปกครองสูงสุด ไม่ว่าจะได้เสนอในขณะที่เริ่มคดีโดยทำเป็นคำฟ้องหรือคำร้องขอ หรือเสนอในภายหลังโดยทำเป็นคำฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไข หรือฟ้องแย้ง หรือโดยการร้องสอดเข้ามาในคดีไม่ว่าด้วยความสมัครใจ หรือถูกบังคับโดยศาล หรือโดยมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่[๒]
คำฟ้องดังกล่าวนำมาใช้ทั้งในศาลปกครองชั้นต้นและศาลปกครองสูงสุด เนื่องจากในศาลปกครองสูงสุด
ก็มีคำฟ้องที่เสนอขณะเริ่มคดี คำร้องขอ คำฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไข ฟ้องแย้ง คำร้องสอด คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ เนื่องจากมีคดีปกครองบางประเภทที่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้แก่คดีพิพาทเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทตามที่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดประกาศกำหนด
คดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกา หรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรีหรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจศาลปกครองสูงสุดที่จะพิจารณาพิพากษา ตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงต้องเสนอคำฟ้องต่อ
ศาลปกครองสูงสุด หรือในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลปกครองสูงสุดอาจจะมีการเพิ่มเติมหรือแก้ไขคำฟ้อง
การร้องสอดเข้ามาในคดีหรือการขอให้พิจารณาคดีใหม่ โดยทำเป็นคำฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไข คำร้องสอด
หรือคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ แล้วแต่กรณี
ข้อสังเกต
๑) คำอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นนั้นไม่อยู่ในนิยามความหมายของ
คำว่า “คำฟ้อง” ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในมาตรา ๑ (๓)[๓] แต่เมื่อมีลักษณะเป็นการเสนอข้อหาที่ศาลชั้นต้นได้พิพากษาหรือมีคำสั่งแล้วต่อศาลปกครองสูงสุด จึงถือได้ว่าเป็นคำฟ้องเช่นเดียวกันกับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น ซึ่งศาลปกครองสูงสุดถือว่า เป็นการเสนอข้อหาต่อศาลปกครองสูงสุด จึงเป็นคำฟ้องตามความหมายของมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
พ.ศ. ๒๕๔๒ (คำพิพากษาที่ อ.๓/๒๕๔๖, คำสั่งที่ ๔๒/๒๕๔๔, คำสั่งที่ ๔๒/๒๕๔๔)
๒) คำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องถือเป็นคำฟ้อง (คำสั่งที่ ๕๑๑/๒๕๔๖)
๓) คำร้องสอดเป็นคำฟ้องจะต้องอยู่ภายใต้บังคับเงื่อนไขกำหนดระยะเวลาการฟ้องคดี
แต่ในกรณีที่ศาลเห็นจำเป็นจะมีคำสั่งเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีในฐานะผู้ถูกฟ้องคดีเอง เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลสามารถที่จะเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีตั้งแต่วันที่มีการยื่นฟ้อง แม้ศาลมีคำสั่งเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นผู้ถูกฟ้องคดีภายหลังวันยื่นฟ้องคดี ก็ถือว่าศาลมีคำสั่งเรียกในวันที่ยื่นฟ้องคดีนั้น (คำพิพากษาที่ อ.๑๗๒ – ๑๗๔/๒๕๔๘ (ป.ช.ญ.))
๔) บทบัญญัติเกี่ยวกับกำหนดเวลาการฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ไม่ใช้บังคับกับศาล แต่ใช้บังคับคู่กรณีเท่านั้น
๕) คำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดเกี่ยวกับคำฟ้องที่เป็นข้อหาใหม่
– กรณีที่เป็นข้อหาใหม่
ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ (เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดตากสาขาแม่สอด) ในข้อหาเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้า
เกินสมควรต่อมาได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง โดยขอฟ้องกรมที่ดินเป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เนื่องจาก
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ (อธิบดีกรมที่ดิน) เป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งต้อง
รับผิดในกรณีละเมิดและต้องชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรหรือละเลย
การปฏิบัติหน้าที่ จึงเป็นการเสนอข้อหาต่อศาลภายหลังที่ได้ยื่นคำฟ้องไว้แล้ว ถือเป็นคดีละเมิดอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ซึ่งเป็นข้อหาใหม่ จึงต้องยื่นฟ้องภายในกำหนดเวลาตามมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ (คำสั่งที่ ๗๑๕/๒๕๔๘)
– กรณีที่ไม่เป็นข้อหาใหม่
ศาลปกครองชั้นต้นสั่งไม่รับคำฟ้องเพิ่มเติม เพราะเห็นว่าเป็นข้อหาใหม่ แต่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้รับ เมื่อศาลปกครองชั้นต้นรับคำฟ้องเพิ่มเติมไว้พิจารณาแล้วจะสั่งไม่รับคำฟ้องเพิ่มเติมโดยอ้างเหตุว่า คำฟ้องเพิ่มเติมยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาฟ้องคดีไม่ได้ (คำสั่งที่ ๘๓๕/๒๕๔๗)
๒. รายการในคำฟ้อง
คำฟ้องไม่มีแบบฟอร์มบังคับ[๔] แต่ต้องใช้ถ้อยคำที่สุภาพโดยทำเป็นหนังสือ และต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
๑) ชื่อและที่อยู่ของผู้ฟ้องคดี
– ผู้ฟ้องคดีเป็นบุคคลธรรมดา ชื่อจะเป็นชื่อตามบัตรประจำตัวประชาชน ที่อยู่จะเป็นที่อยู่ตามสำเนาทะเบียนบ้าน
– ผู้ฟ้องคดีเป็นนิติบุคคลในกฎหมายเอกชน ชื่อและที่อยู่จะเป็นชื่อและสถานที่ตั้งของนิติบุคคลตามที่ได้จดทะเบียนไว้
– ผู้ฟ้องคดีเป็นนิติบุคคลในกฎหมายมหาชน ชื่อจะเป็นชื่อตามที่ปรากฏในกฎหมายมหาชนนั้นๆ ส่วนที่อยู่ก็คือสถานที่ตั้งของนิติบุคคลในกฎหมายมหาชนนั้น
– ผู้ฟ้องคดีเป็นคณะบุคคล ชื่อจะเป็นชื่อที่คณะบุคคลนั้นใช้เรียกขานคณะของตนที่อยู่จะเป็นสถานที่อันเป็นที่ทำการของคณะบุคคล กรณีไม่มีสถานที่ทำการก็น่าจะใช้ที่อยู่ของผู้เป็นหัวหน้าของ
คณะบุคคลนั้นเป็นที่อยู่ของผู้ฟ้องคดีได้
ข้อสังเกต
กรณีที่มีผู้ฟ้องคดีหลายรายในคำฟ้องเดียวกัน ต้องระบุชื่อที่อยู่ของผู้ฟ้องคดีทุกรายไว้ในคำฟ้องด้วย
๒) ชื่อหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องอันเป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี
– หน่วยงานทางปกครอง หมายถึงหน่วยงานทางปกครองที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
ตามกฎหมาย และหมายความรวมถึงหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินการทางปกครอง
– เจ้าหน้าที่ของรัฐ จะต้องระบุชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ และตำแหน่งและสังกัดของเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นด้วย เพื่อจะได้ทราบว่าบุคคลที่ถูกฟ้องนั้นเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ในสังกัดของหน่วยงานทางปกครอง
ในกรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดีมิใช่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ฟ้องคดี
ต้องระบุชื่อและที่อยู่ของบุคคลซึ่งเป็นผู้ถูกฟ้องคดีไว้ด้วย[๕]
ข้อสังเกต
ถ้าผู้ถูกฟ้องคดีมีหลายรายต้องระบุชื่อและที่อยู่ของผู้ถูกฟ้องคดีทุกรายในคำฟ้องด้วย
๓) การกระทำทั้งหลายที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี พร้อมทั้งข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ตามสมควรเกี่ยวกับการกระทำดังกล่าว
การกระทำทั้งหลายที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี กล่าวคือ การกระทำต่างๆ ตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เช่น การกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่งทางปกครองหรือการกระทำอื่นใด การละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร เป็นต้น
๔) คำขอของผู้ฟ้องคดี
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๗๒
ได้กำหนดให้คำขอของผู้ฟ้องคดีต้องเป็นคำขอที่ศาลปกครองสามารถกำหนดคำบังคับ และคำขอต้องสอดคล้องกับเหตุแห่งการฟ้องคดีด้วย กล่าวคือ ในกรณีที่ฟ้องว่าหน่วยงานปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการ
โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่งหรือการกระทำอื่นใด ตามมาตรา ๙ (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คำขอของผู้ฟ้องคดีก็ต้องเป็นขอให้ศาลสั่งเพิกถอนกฎหรือคำสั่งหรือสั่งห้ามการกระทำทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งศาลปกครองมีอำนาจกำหนดคำบังคับคดีดังกล่าวได้ ตามมาตรา ๗๒ (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ตัวอย่าง เช่น ถ้าฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรตามมาตรา ๙ (๒) ของพระราชบัญญัติที่กล่าวมาข้างต้น คำขอของผู้ฟ้องคดีก็ต้องเป็น ขอให้ศาลสั่งให้หัวหน้าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องปฏิบัติหน้าที่ภายในเวลาที่ศาลปกครองกำหนด ซึ่งศาลปกครองมีอำนาจกำหนดคำบังคับดังกล่าวเวลาที่ได้ตามมาตรา ๗๒ (๒) ของพระราชบัญญัติที่กล่าวมาข้างต้น เป็นต้น
๕) ลายมือชื่อผู้ฟ้องคดี
ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ลงลายมือชื่อของตนเองในคำฟ้อง เมื่อลงลายมือชื่อแล้ว ผู้ฟ้องคดีจะยื่นฟ้องคดีด้วยตนเองหรือไม่ก็ได้ ในกรณีที่ให้ผู้อื่นยื่นฟ้องคดีแทนก็จะต้องแนบใบมอบฉันทะให้ฟ้องคดีไปด้วย
ข้อสังเกต
๑) ในกรณียื่นฟ้องคดีแทนผู้อื่นจะต้องแนบใบมอบฉันทะ[๖] ให้ฟ้องคดีมาด้วย
๒) ในคดีที่ผู้ฟ้องคดีมอบอำนาจให้ผู้ฟ้องคดีแทน[๗] ผู้ได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนมีสิทธิลงลายมือชื่อในคำฟ้อง เช่น ผู้ฟ้องคดีมอบอำนาจให้นายบัณฑูร ชุณหสวัสดิกุล เป็นผู้ลงนามในคำฟ้อง
เสนอคำฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นและดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีนี้แทนผู้ฟ้องคดีตามหนังสือมอบอำนาจลงวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๔๕ นายบัญฑูร ผู้รับมอบอำนาจจึงลงนามในคำฟ้องคดีนี้ได้ (คำสั่งที่ ๒๕๓/๒๕๔๕)
๓) ในกรณีผู้ฟ้องไม่สามารถลงลายมือชื่อในคำฟ้องได้ ผู้ฟ้องสามารถพิมพ์ลายนิ้วมือแทนได้
๓. เอกสารประกอบคำฟ้อง
ผู้ฟ้องคดีต้องจัดให้มีเอกสารที่เป็นประโยชน์กับศาลในการแสวงหาข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
แนบไปกับคำฟ้องด้วย
๑) แนบพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องไปกับคำฟ้องด้วย ในกรณีที่ไม่อาจแนบพยานหลักฐาน
ที่เกี่ยวข้องได้เพราะพยานหลักฐานอยู่ในความครอบครองของหน่วยงานทางปกครอง เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลอื่นหรือเพราะเหตุอื่นใด ผู้ฟ้องคดีต้องระบุเหตุที่ไม่อาจแนบพยานหลักฐานนั้นไว้ด้วย[๘]
๒) จัดทำสำเนาคำฟ้องและสำเนาพยานหลักฐานที่ผู้ฟ้องคดีรับรองสำเนาถูกต้อง
ตามจำนวนของผู้ถูกฟ้องคดียื่นไปพร้อมกับคำฟ้องด้วย[๙] เช่น ผู้ฟ้องต้องการฟ้องหน่วยงาน อธิบดี และเจ้าหน้าที่ ก็ต้องทำสำเนาคำฟ้องกับพยานหลักฐานเพิ่มอีก ๓ ชุด เป็นต้น
ในกรณีที่ผู้ฟ้องคดีไม่จัดทำสำเนาคำฟ้องและสำเนาพยานหลักฐานให้ครบถ้วน หรือ
ในกรณีที่จำนวนผู้ถูกฟ้องคดีเพิ่มขึ้น ศาลมีอำนาจแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีจัดทำสำเนาเพิ่มภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าผู้ฟ้องคดีไม่ดำเนินการภายในระยะเวลากำหนด ศาลจะสั่งไม่รับฟ้องไว้พิจารณาและสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความก็ได้[๑๐]
๔. การยื่นคำฟ้อง
การยื่นคำฟ้องตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองสูงสุดและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
พ.ศ. ๒๕๔๒ และระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง
พ.ศ. ๒๕๔๓ สามารถแบ่งอธิบายได้ดังนี้
๑) หลักเกณฑ์ทั่วไปในการยื่นคำฟ้อง
๑.๑) การฟ้องด้วยตนเอง โดยปกติแล้วผู้ฟ้องคดีต้องไปยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครอง
ด้วยตนเอง แต่เพื่อความรวดเร็วและความสะดวกแก่ผู้ฟ้องคดี กฎหมายให้ผู้ฟ้องคดีมอบฉันทะให้ผู้อื่น
มายื่นฟ้องคดีแทนได้ แต่ต้องแนบใบมอบฉันทะให้ฟ้องคดีไปพร้อมกับคำฟ้องด้วย[๑๑]
๑.๒) การฟ้องโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน[๑๒] ผู้ฟ้องคดีสามารถยื่นคำฟ้องโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนได้ ซึ่งหลักการยื่นคำฟ้องโดยส่งทางไปรษณีย์ เป็นหลักการใหม่ที่แตกต่างไปจากหลักการยื่นคำฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรม ทั้งนี้เนื่องจากกฎหมายต้องการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้ฟ้องคดีที่จะไม่ต้องเดินทางมาเพื่อฟ้องคดีด้วยตนเอง และเพื่อความรวดเร็วในกระบวนการพิจารณาให้เกิดความยุติธรรม
แต่การยื่นคำฟ้องโดยส่งทางไปรษณีย์ดังกล่าวผู้ฟ้องคดีจะต้องลงทะเบียนด้วย เพราะการลงทะเบียนจะมี
การบันทึกวันที่ส่งลงในเอกสารอันจะเป็นประโยชน์ต่อการนับอายุความ เนื่องจากกฎหมายให้ถือว่าวันส่งคำฟ้อง
แก่เจ้าพนักงานไปรษณีย์เป็นวันที่ยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครอง
ข้อสังเกต
การยื่นคำฟ้องโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนน่าจะกระทำได้เฉพาะในคดีที่ฟ้องเกี่ยวกับ
การออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และคดีที่ฟ้องเกี่ยวกับการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครอง
หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร โดยมิได้ขอให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องรับผิดต่อผู้ฟ้องคดีด้วยเท่านั้น เพราะการฟ้องคดีดังกล่าวผู้ฟ้องคดีไม่ต้อง
เสียค่าธรรมเนียมศาล แต่ในการยื่นคำฟ้องคดีที่เกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการอำนาจตามกฎหมาย กฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายหรือปฏิบัติล่าช้าเกินสมควร และการยื่นคำฟ้องที่เกี่ยวกับความรับผิดตามสัญญาทางปกครอง ผู้ฟ้องคดีจะต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ดังนั้น ผู้ฟ้องคดีควรจะต้องมายื่นคำฟ้อง
ด้วยตนเอง หรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นมายื่นคำฟ้องแทน เนื่องจากจะต้องมาชำระค่าธรรมเนียมให้ถูกต้องครบถ้วนพร้อมกับรับใบเสร็จการรับเงินค่าธรรมเนียมจากเจ้าหน้าที่
๒) การยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้น
การยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้น ผู้ฟ้องคดีจะต้องยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้น
ที่ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลำเนาหรือที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตของศาลปกครองชั้นต้น ซึ่งศาลปกครองชั้นต้นได้แก่
ศาลปกครองกลางและศาลปกครองในส่วนภูมิภาค[๑๓]
สำหรับคำฟ้องอาจยื่นต่อศาลได้สองศาลหรือหลายศาล ไม่ว่าจะเป็นเพราะภูมิลำเนาของ
ผู้ฟ้องคดี เพราะสถานที่ที่มูลคดีเกิด หรือเพราะมีข้อหาหลายข้อหา ถ้ามูลคดีมีความเกี่ยวเนื่องกัน ผู้ฟ้องคดี
จะยื่นฟ้องต่อศาลหนึ่งศาลใดก็ได้[๑๔]
ในกรณีที่มีปัญหาเรื่องเขตศาลโดยที่ศาลปกครองหนึ่งพิพากษาว่า คดีที่ฟ้องต่อศาลปกครองนั้นอยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองอื่น กฎหมายให้ศาลปกครองนั้นส่งคำฟ้องไปยังศาลปกครองที่มีเขตอำนาจ
เพื่อพิจารณา ถ้าศาลปกครองชั้นต้นมีความเห็นขัดแย้งกันในเรื่องเขตอำนาจศาล กฎหมายได้กำหนดให้ศาลปกครองที่รับคำฟ้องไว้หลังสุดเสนอความเห็นต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อมีคำสั่งในเรื่องเขตอำนาจศาล
ทั้งนี้ การฟ้องคดีปกครองที่มูลคดีมิได้เกิดขึ้นในราชอาณาจักร ถ้าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสัญชาติไทย และไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ผู้ฟ้องคดีต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง[๑๕]
๓) การยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด
โดยที่ศาลปกครองสูงสุดมีแห่งเดียว ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ดังนั้น ศาลปกครองสูงสุดจึงมีเขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร การยื่นคำฟ้องคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองสูงสุด ไม่ว่าผู้ฟ้องคดี
จะมีภูมิลำเนาในจังหวัดใด มูลคดีจะเกิดในจังหวัดใดก็ตามก็ต้องยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร
๔) ค่าธรรมเนียมศาล
การฟ้องคดีปกครองนั้น กฎหมายวางหลักไว้ว่า ผู้ฟ้องคดีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล เช่น ฟ้องคดีขอให้ศาลสั่งเพิกถอนกฎ หรือคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฟ้องคดีขอให้สั่งห้ามการกระทำทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฟ้องคดีขอให้ศาลสั่งให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ผู้ฟ้องคดีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลแต่อย่างใด
แต่ถ้าเป็นการฟ้องคดีขอให้ศาลสั่งให้มีการใช้เงินหรือส่งมอบทรัพย์สินอันสืบเนื่องจาก
คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง กฎหมายได้กำหนดให้นำหลักเกณฑ์เรื่องค่าธรรมเนียมในกฎหมายแพ่ง
มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งผู้ฟ้องจะต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลทุกชั้นศาลในอัตราร้อยละ ๒ ของทุนทรัพย์แต่ไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท สำหรับคดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน ๕๐ ล้านบาท ทุนทรัพย์ส่วนที่เกิน ๕๐ ล้านบาทขึ้นไปคิด
ในอัตราร้อยละ ๐.๑ และถ้าชนะคดี ศาลปกครองจะสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดหรือบางส่วนตามส่วน
แห่งการชนะคดี โดยให้ชำระค่าธรรมเนียมศาลเป็นเงินสดหรือเป็นแคชเชียร์เช็ค ตั๋วแลกเงินธนาคาร หรือ
ดราฟธนาคารโดยสั่งจ่ายในนาม “เงินค่าธรรมเนียมและเงินค่าปรับของสำนักงานศาลปกครอง…” (ระบุชื่อสำนักงานศาลปกครองที่ไปยื่นฟ้อง เช่น สำนักงานศาลปกครองกลาง สำนักงานศาลปกครองเชียงใหม่
ในกรณีการฟ้องคดีที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ถ้าผู้ฟ้องคดีไม่มีทรัพย์สินเพียงพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาล หรือถ้าไม่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลจะได้รับความเดือดร้อนเกินสมควร ศาลปกครองอาจอนุญาตให้ดำเนินคดีโดยให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดหรือเฉพาะบางส่วนก็ได้
๕) ผลแห่งการยื่นคำฟ้อง
เมื่อมีการยื่นคำฟ้องต่อศาลไม่ว่าจะเป็นการยื่นต่อศาลปกครองชั้นต้นหรือศาลปกครองสูงสุดแล้ว ถือว่าคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ซึ่งทำให้เกิดผลดังนี้[๑๖]
(๑) ห้ามมิให้ผู้ฟ้องคดียื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน หรือต่อศาลอื่นอีก
(๒) ถ้ามีเหตุเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในพฤติการณ์เกี่ยวด้วยการยื่นฟ้องคดีต่อศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดีนั้น เช่น การเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลหรือการเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนาของผู้ฟ้องคดี
การเปลี่ยนแปลงเช่นว่านั้นหาตัดอำนาจศาลที่รับคำฟ้องไว้ในวันที่จะพิจารณาพิพากษาคดีนั้นไม่
๕. ระยะเวลาการฟ้องคดีปกครอง
ก่อนผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหาย จะดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลปกครองจำเป็นต้องรู้ถึงระยะเวลาในการฟ้องคดีปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
พ.ศ. ๒๕๔๒ เพื่อไม่ให้เป็นคดีขาดอายุความ ซึ่งศาลจะไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา ระยะเวลาการฟ้องคดีปกครอง อาจแบ่งได้ ๘ กรณี ดังนี้
๑) กรณีขอให้เพิกถอนกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือ การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การฟ้องคดีเพื่อขอให้เพิกถอนกฎ หรือคำสั่งทางปกครอง[๑๗] หรือการกระทำอื่นที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กฎหมายได้กำหนดให้ต้องยื่นให้ต้องยื่นฟ้องภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันรู้ หรือควรรู้ถึงเหตุแห่ง
การฟ้องคดีปกครอง
การฟ้องคดีต่อศาลปกครอง
ณัฐกฤช มุสิกะโสภณ
นบ. นม. บปค.
ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องจากการกระทำ หรือการงดเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง หรือกรณีอื่นใดตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและ
วิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ สามารถดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้[๑] แต่การดำเนินคดีในศาลปกครองมีขั้นตอน วิธีการตลอดจนบทบาทของคู่กรณีและของศาลมีความแตกต่างไปจากการดำเนินคดีในศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นระบบที่เราคุ้นเคยกันอยู่ กล่าวคือ การดำเนินคดีในศาลปกครองในกระบวนการพิจารณาแบบไต่สวนเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงในคดี (ใช้เอกสารเป็นหลัก) ส่วนการดำเนินคดีในศาลยุติธรรมใช้กระบวนการพิจารณาแบบกล่าวหาเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริง (ในการเบิกความของพยานบุคคลเป็นหลัก) ดังนั้น ผู้ที่จะฟ้องคดีต่อศาลปกครองจึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลปกครองและเพื่อจะนำไปสู่การยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้อย่างถูกต้อง
๑. คำฟ้อง
คำฟ้อง คือ การที่ผู้ฟ้องคดีเสนอข้อหาด้วยการฟ้องคดีต่อศาลปกครองชั้นต้นหรือศาลปกครองสูงสุด ไม่ว่าจะได้เสนอในขณะที่เริ่มคดีโดยทำเป็นคำฟ้องหรือคำร้องขอ หรือเสนอในภายหลังโดยทำเป็นคำฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไข หรือฟ้องแย้ง หรือโดยการร้องสอดเข้ามาในคดีไม่ว่าด้วยความสมัครใจ หรือถูกบังคับโดยศาล หรือโดยมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่[๒]
คำฟ้องดังกล่าวนำมาใช้ทั้งในศาลปกครองชั้นต้นและศาลปกครองสูงสุด เนื่องจากในศาลปกครองสูงสุด
ก็มีคำฟ้องที่เสนอขณะเริ่มคดี คำร้องขอ คำฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไข ฟ้องแย้ง คำร้องสอด คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ เนื่องจากมีคดีปกครองบางประเภทที่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้แก่คดีพิพาทเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทตามที่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดประกาศกำหนด
คดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกา หรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรีหรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจศาลปกครองสูงสุดที่จะพิจารณาพิพากษา ตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงต้องเสนอคำฟ้องต่อ
ศาลปกครองสูงสุด หรือในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลปกครองสูงสุดอาจจะมีการเพิ่มเติมหรือแก้ไขคำฟ้อง
การร้องสอดเข้ามาในคดีหรือการขอให้พิจารณาคดีใหม่ โดยทำเป็นคำฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไข คำร้องสอด
หรือคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ แล้วแต่กรณี
ข้อสังเกต
๑) คำอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นนั้นไม่อยู่ในนิยามความหมายของ
คำว่า “คำฟ้อง” ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในมาตรา ๑ (๓)[๓] แต่เมื่อมีลักษณะเป็นการเสนอข้อหาที่ศาลชั้นต้นได้พิพากษาหรือมีคำสั่งแล้วต่อศาลปกครองสูงสุด จึงถือได้ว่าเป็นคำฟ้องเช่นเดียวกันกับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น ซึ่งศาลปกครองสูงสุดถือว่า เป็นการเสนอข้อหาต่อศาลปกครองสูงสุด จึงเป็นคำฟ้องตามความหมายของมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
พ.ศ. ๒๕๔๒ (คำพิพากษาที่ อ.๓/๒๕๔๖, คำสั่งที่ ๔๒/๒๕๔๔, คำสั่งที่ ๔๒/๒๕๔๔)
๒) คำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องถือเป็นคำฟ้อง (คำสั่งที่ ๕๑๑/๒๕๔๖)
๓) คำร้องสอดเป็นคำฟ้องจะต้องอยู่ภายใต้บังคับเงื่อนไขกำหนดระยะเวลาการฟ้องคดี
แต่ในกรณีที่ศาลเห็นจำเป็นจะมีคำสั่งเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีในฐานะผู้ถูกฟ้องคดีเอง เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลสามารถที่จะเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีตั้งแต่วันที่มีการยื่นฟ้อง แม้ศาลมีคำสั่งเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นผู้ถูกฟ้องคดีภายหลังวันยื่นฟ้องคดี ก็ถือว่าศาลมีคำสั่งเรียกในวันที่ยื่นฟ้องคดีนั้น (คำพิพากษาที่ อ.๑๗๒ – ๑๗๔/๒๕๔๘ (ป.ช.ญ.))
๔) บทบัญญัติเกี่ยวกับกำหนดเวลาการฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ไม่ใช้บังคับกับศาล แต่ใช้บังคับคู่กรณีเท่านั้น
๕) คำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดเกี่ยวกับคำฟ้องที่เป็นข้อหาใหม่
– กรณีที่เป็นข้อหาใหม่
ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ (เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดตากสาขาแม่สอด) ในข้อหาเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้า
เกินสมควรต่อมาได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง โดยขอฟ้องกรมที่ดินเป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เนื่องจาก
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ (อธิบดีกรมที่ดิน) เป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งต้อง
รับผิดในกรณีละเมิดและต้องชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรหรือละเลย
การปฏิบัติหน้าที่ จึงเป็นการเสนอข้อหาต่อศาลภายหลังที่ได้ยื่นคำฟ้องไว้แล้ว ถือเป็นคดีละเมิดอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ซึ่งเป็นข้อหาใหม่ จึงต้องยื่นฟ้องภายในกำหนดเวลาตามมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ (คำสั่งที่ ๗๑๕/๒๕๔๘)
– กรณีที่ไม่เป็นข้อหาใหม่
ศาลปกครองชั้นต้นสั่งไม่รับคำฟ้องเพิ่มเติม เพราะเห็นว่าเป็นข้อหาใหม่ แต่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้รับ เมื่อศาลปกครองชั้นต้นรับคำฟ้องเพิ่มเติมไว้พิจารณาแล้วจะสั่งไม่รับคำฟ้องเพิ่มเติมโดยอ้างเหตุว่า คำฟ้องเพิ่มเติมยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาฟ้องคดีไม่ได้ (คำสั่งที่ ๘๓๕/๒๕๔๗)
๒. รายการในคำฟ้อง
คำฟ้องไม่มีแบบฟอร์มบังคับ[๔] แต่ต้องใช้ถ้อยคำที่สุภาพโดยทำเป็นหนังสือ และต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
๑) ชื่อและที่อยู่ของผู้ฟ้องคดี
– ผู้ฟ้องคดีเป็นบุคคลธรรมดา ชื่อจะเป็นชื่อตามบัตรประจำตัวประชาชน ที่อยู่จะเป็นที่อยู่ตามสำเนาทะเบียนบ้าน
– ผู้ฟ้องคดีเป็นนิติบุคคลในกฎหมายเอกชน ชื่อและที่อยู่จะเป็นชื่อและสถานที่ตั้งของนิติบุคคลตามที่ได้จดทะเบียนไว้
– ผู้ฟ้องคดีเป็นนิติบุคคลในกฎหมายมหาชน ชื่อจะเป็นชื่อตามที่ปรากฏในกฎหมายมหาชนนั้นๆ ส่วนที่อยู่ก็คือสถานที่ตั้งของนิติบุคคลในกฎหมายมหาชนนั้น
– ผู้ฟ้องคดีเป็นคณะบุคคล ชื่อจะเป็นชื่อที่คณะบุคคลนั้นใช้เรียกขานคณะของตนที่อยู่จะเป็นสถานที่อันเป็นที่ทำการของคณะบุคคล กรณีไม่มีสถานที่ทำการก็น่าจะใช้ที่อยู่ของผู้เป็นหัวหน้าของ
คณะบุคคลนั้นเป็นที่อยู่ของผู้ฟ้องคดีได้
ข้อสังเกต
กรณีที่มีผู้ฟ้องคดีหลายรายในคำฟ้องเดียวกัน ต้องระบุชื่อที่อยู่ของผู้ฟ้องคดีทุกรายไว้ในคำฟ้องด้วย
๒) ชื่อหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องอันเป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี
– หน่วยงานทางปกครอง หมายถึงหน่วยงานทางปกครองที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
ตามกฎหมาย และหมายความรวมถึงหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินการทางปกครอง
– เจ้าหน้าที่ของรัฐ จะต้องระบุชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ และตำแหน่งและสังกัดของเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นด้วย เพื่อจะได้ทราบว่าบุคคลที่ถูกฟ้องนั้นเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ในสังกัดของหน่วยงานทางปกครอง
ในกรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดีมิใช่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ฟ้องคดี
ต้องระบุชื่อและที่อยู่ของบุคคลซึ่งเป็นผู้ถูกฟ้องคดีไว้ด้วย[๕]
ข้อสังเกต
ถ้าผู้ถูกฟ้องคดีมีหลายรายต้องระบุชื่อและที่อยู่ของผู้ถูกฟ้องคดีทุกรายในคำฟ้องด้วย
๓) การกระทำทั้งหลายที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี พร้อมทั้งข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ตามสมควรเกี่ยวกับการกระทำดังกล่าว
การกระทำทั้งหลายที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี กล่าวคือ การกระทำต่างๆ ตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เช่น การกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่งทางปกครองหรือการกระทำอื่นใด การละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร เป็นต้น
๔) คำขอของผู้ฟ้องคดี
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๗๒
ได้กำหนดให้คำขอของผู้ฟ้องคดีต้องเป็นคำขอที่ศาลปกครองสามารถกำหนดคำบังคับ และคำขอต้องสอดคล้องกับเหตุแห่งการฟ้องคดีด้วย กล่าวคือ ในกรณีที่ฟ้องว่าหน่วยงานปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการ
โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่งหรือการกระทำอื่นใด ตามมาตรา ๙ (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คำขอของผู้ฟ้องคดีก็ต้องเป็นขอให้ศาลสั่งเพิกถอนกฎหรือคำสั่งหรือสั่งห้ามการกระทำทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งศาลปกครองมีอำนาจกำหนดคำบังคับคดีดังกล่าวได้ ตามมาตรา ๗๒ (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ตัวอย่าง เช่น ถ้าฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรตามมาตรา ๙ (๒) ของพระราชบัญญัติที่กล่าวมาข้างต้น คำขอของผู้ฟ้องคดีก็ต้องเป็น ขอให้ศาลสั่งให้หัวหน้าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องปฏิบัติหน้าที่ภายในเวลาที่ศาลปกครองกำหนด ซึ่งศาลปกครองมีอำนาจกำหนดคำบังคับดังกล่าวเวลาที่ได้ตามมาตรา ๗๒ (๒) ของพระราชบัญญัติที่กล่าวมาข้างต้น เป็นต้น
๕) ลายมือชื่อผู้ฟ้องคดี
ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ลงลายมือชื่อของตนเองในคำฟ้อง เมื่อลงลายมือชื่อแล้ว ผู้ฟ้องคดีจะยื่นฟ้องคดีด้วยตนเองหรือไม่ก็ได้ ในกรณีที่ให้ผู้อื่นยื่นฟ้องคดีแทนก็จะต้องแนบใบมอบฉันทะให้ฟ้องคดีไปด้วย
ข้อสังเกต
๑) ในกรณียื่นฟ้องคดีแทนผู้อื่นจะต้องแนบใบมอบฉันทะ[๖] ให้ฟ้องคดีมาด้วย
๒) ในคดีที่ผู้ฟ้องคดีมอบอำนาจให้ผู้ฟ้องคดีแทน[๗] ผู้ได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนมีสิทธิลงลายมือชื่อในคำฟ้อง เช่น ผู้ฟ้องคดีมอบอำนาจให้นายบัณฑูร ชุณหสวัสดิกุล เป็นผู้ลงนามในคำฟ้อง
เสนอคำฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นและดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีนี้แทนผู้ฟ้องคดีตามหนังสือมอบอำนาจลงวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๔๕ นายบัญฑูร ผู้รับมอบอำนาจจึงลงนามในคำฟ้องคดีนี้ได้ (คำสั่งที่ ๒๕๓/๒๕๔๕)
๓) ในกรณีผู้ฟ้องไม่สามารถลงลายมือชื่อในคำฟ้องได้ ผู้ฟ้องสามารถพิมพ์ลายนิ้วมือแทนได้
๓. เอกสารประกอบคำฟ้อง
ผู้ฟ้องคดีต้องจัดให้มีเอกสารที่เป็นประโยชน์กับศาลในการแสวงหาข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
แนบไปกับคำฟ้องด้วย
๑) แนบพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องไปกับคำฟ้องด้วย ในกรณีที่ไม่อาจแนบพยานหลักฐาน
ที่เกี่ยวข้องได้เพราะพยานหลักฐานอยู่ในความครอบครองของหน่วยงานทางปกครอง เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลอื่นหรือเพราะเหตุอื่นใด ผู้ฟ้องคดีต้องระบุเหตุที่ไม่อาจแนบพยานหลักฐานนั้นไว้ด้วย[๘]
๒) จัดทำสำเนาคำฟ้องและสำเนาพยานหลักฐานที่ผู้ฟ้องคดีรับรองสำเนาถูกต้อง
ตามจำนวนของผู้ถูกฟ้องคดียื่นไปพร้อมกับคำฟ้องด้วย[๙] เช่น ผู้ฟ้องต้องการฟ้องหน่วยงาน อธิบดี และเจ้าหน้าที่ ก็ต้องทำสำเนาคำฟ้องกับพยานหลักฐานเพิ่มอีก ๓ ชุด เป็นต้น
ในกรณีที่ผู้ฟ้องคดีไม่จัดทำสำเนาคำฟ้องและสำเนาพยานหลักฐานให้ครบถ้วน หรือ
ในกรณีที่จำนวนผู้ถูกฟ้องคดีเพิ่มขึ้น ศาลมีอำนาจแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีจัดทำสำเนาเพิ่มภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าผู้ฟ้องคดีไม่ดำเนินการภายในระยะเวลากำหนด ศาลจะสั่งไม่รับฟ้องไว้พิจารณาและสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความก็ได้[๑๐]
๔. การยื่นคำฟ้อง
การยื่นคำฟ้องตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองสูงสุดและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
พ.ศ. ๒๕๔๒ และระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง
พ.ศ. ๒๕๔๓ สามารถแบ่งอธิบายได้ดังนี้
๑) หลักเกณฑ์ทั่วไปในการยื่นคำฟ้อง
๑.๑) การฟ้องด้วยตนเอง โดยปกติแล้วผู้ฟ้องคดีต้องไปยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครอง
ด้วยตนเอง แต่เพื่อความรวดเร็วและความสะดวกแก่ผู้ฟ้องคดี กฎหมายให้ผู้ฟ้องคดีมอบฉันทะให้ผู้อื่น
มายื่นฟ้องคดีแทนได้ แต่ต้องแนบใบมอบฉันทะให้ฟ้องคดีไปพร้อมกับคำฟ้องด้วย[๑๑]
๑.๒) การฟ้องโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน[๑๒] ผู้ฟ้องคดีสามารถยื่นคำฟ้องโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนได้ ซึ่งหลักการยื่นคำฟ้องโดยส่งทางไปรษณีย์ เป็นหลักการใหม่ที่แตกต่างไปจากหลักการยื่นคำฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรม ทั้งนี้เนื่องจากกฎหมายต้องการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้ฟ้องคดีที่จะไม่ต้องเดินทางมาเพื่อฟ้องคดีด้วยตนเอง และเพื่อความรวดเร็วในกระบวนการพิจารณาให้เกิดความยุติธรรม
แต่การยื่นคำฟ้องโดยส่งทางไปรษณีย์ดังกล่าวผู้ฟ้องคดีจะต้องลงทะเบียนด้วย เพราะการลงทะเบียนจะมี
การบันทึกวันที่ส่งลงในเอกสารอันจะเป็นประโยชน์ต่อการนับอายุความ เนื่องจากกฎหมายให้ถือว่าวันส่งคำฟ้อง
แก่เจ้าพนักงานไปรษณีย์เป็นวันที่ยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครอง
ข้อสังเกต
การยื่นคำฟ้องโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนน่าจะกระทำได้เฉพาะในคดีที่ฟ้องเกี่ยวกับ
การออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และคดีที่ฟ้องเกี่ยวกับการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครอง
หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร โดยมิได้ขอให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องรับผิดต่อผู้ฟ้องคดีด้วยเท่านั้น เพราะการฟ้องคดีดังกล่าวผู้ฟ้องคดีไม่ต้อง
เสียค่าธรรมเนียมศาล แต่ในการยื่นคำฟ้องคดีที่เกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการอำนาจตามกฎหมาย กฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายหรือปฏิบัติล่าช้าเกินสมควร และการยื่นคำฟ้องที่เกี่ยวกับความรับผิดตามสัญญาทางปกครอง ผู้ฟ้องคดีจะต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ดังนั้น ผู้ฟ้องคดีควรจะต้องมายื่นคำฟ้อง
ด้วยตนเอง หรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นมายื่นคำฟ้องแทน เนื่องจากจะต้องมาชำระค่าธรรมเนียมให้ถูกต้องครบถ้วนพร้อมกับรับใบเสร็จการรับเงินค่าธรรมเนียมจากเจ้าหน้าที่
๒) การยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้น
การยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้น ผู้ฟ้องคดีจะต้องยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้น
ที่ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลำเนาหรือที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตของศาลปกครองชั้นต้น ซึ่งศาลปกครองชั้นต้นได้แก่
ศาลปกครองกลางและศาลปกครองในส่วนภูมิภาค[๑๓]
สำหรับคำฟ้องอาจยื่นต่อศาลได้สองศาลหรือหลายศาล ไม่ว่าจะเป็นเพราะภูมิลำเนาของ
ผู้ฟ้องคดี เพราะสถานที่ที่มูลคดีเกิด หรือเพราะมีข้อหาหลายข้อหา ถ้ามูลคดีมีความเกี่ยวเนื่องกัน ผู้ฟ้องคดี
จะยื่นฟ้องต่อศาลหนึ่งศาลใดก็ได้[๑๔]
ในกรณีที่มีปัญหาเรื่องเขตศาลโดยที่ศาลปกครองหนึ่งพิพากษาว่า คดีที่ฟ้องต่อศาลปกครองนั้นอยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองอื่น กฎหมายให้ศาลปกครองนั้นส่งคำฟ้องไปยังศาลปกครองที่มีเขตอำนาจ
เพื่อพิจารณา ถ้าศาลปกครองชั้นต้นมีความเห็นขัดแย้งกันในเรื่องเขตอำนาจศาล กฎหมายได้กำหนดให้ศาลปกครองที่รับคำฟ้องไว้หลังสุดเสนอความเห็นต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อมีคำสั่งในเรื่องเขตอำนาจศาล
ทั้งนี้ การฟ้องคดีปกครองที่มูลคดีมิได้เกิดขึ้นในราชอาณาจักร ถ้าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสัญชาติไทย และไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ผู้ฟ้องคดีต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง[๑๕]
๓) การยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด
โดยที่ศาลปกครองสูงสุดมีแห่งเดียว ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ดังนั้น ศาลปกครองสูงสุดจึงมีเขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร การยื่นคำฟ้องคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองสูงสุด ไม่ว่าผู้ฟ้องคดี
จะมีภูมิลำเนาในจังหวัดใด มูลคดีจะเกิดในจังหวัดใดก็ตามก็ต้องยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร
๔) ค่าธรรมเนียมศาล
การฟ้องคดีปกครองนั้น กฎหมายวางหลักไว้ว่า ผู้ฟ้องคดีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล เช่น ฟ้องคดีขอให้ศาลสั่งเพิกถอนกฎ หรือคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฟ้องคดีขอให้สั่งห้ามการกระทำทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฟ้องคดีขอให้ศาลสั่งให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ผู้ฟ้องคดีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลแต่อย่างใด
แต่ถ้าเป็นการฟ้องคดีขอให้ศาลสั่งให้มีการใช้เงินหรือส่งมอบทรัพย์สินอันสืบเนื่องจาก
คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง กฎหมายได้กำหนดให้นำหลักเกณฑ์เรื่องค่าธรรมเนียมในกฎหมายแพ่ง
มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งผู้ฟ้องจะต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลทุกชั้นศาลในอัตราร้อยละ ๒ ของทุนทรัพย์แต่ไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท สำหรับคดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน ๕๐ ล้านบาท ทุนทรัพย์ส่วนที่เกิน ๕๐ ล้านบาทขึ้นไปคิด
ในอัตราร้อยละ ๐.๑ และถ้าชนะคดี ศาลปกครองจะสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดหรือบางส่วนตามส่วน
แห่งการชนะคดี โดยให้ชำระค่าธรรมเนียมศาลเป็นเงินสดหรือเป็นแคชเชียร์เช็ค ตั๋วแลกเงินธนาคาร หรือ
ดราฟธนาคารโดยสั่งจ่ายในนาม “เงินค่าธรรมเนียมและเงินค่าปรับของสำนักงานศาลปกครอง…” (ระบุชื่อสำนักงานศาลปกครองที่ไปยื่นฟ้อง เช่น สำนักงานศาลปกครองกลาง สำนักงานศาลปกครองเชียงใหม่
ในกรณีการฟ้องคดีที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ถ้าผู้ฟ้องคดีไม่มีทรัพย์สินเพียงพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาล หรือถ้าไม่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลจะได้รับความเดือดร้อนเกินสมควร ศาลปกครองอาจอนุญาตให้ดำเนินคดีโดยให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดหรือเฉพาะบางส่วนก็ได้
๕) ผลแห่งการยื่นคำฟ้อง
เมื่อมีการยื่นคำฟ้องต่อศาลไม่ว่าจะเป็นการยื่นต่อศาลปกครองชั้นต้นหรือศาลปกครองสูงสุดแล้ว ถือว่าคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ซึ่งทำให้เกิดผลดังนี้[๑๖]
(๑) ห้ามมิให้ผู้ฟ้องคดียื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน หรือต่อศาลอื่นอีก
(๒) ถ้ามีเหตุเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในพฤติการณ์เกี่ยวด้วยการยื่นฟ้องคดีต่อศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดีนั้น เช่น การเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลหรือการเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนาของผู้ฟ้องคดี
การเปลี่ยนแปลงเช่นว่านั้นหาตัดอำนาจศาลที่รับคำฟ้องไว้ในวันที่จะพิจารณาพิพากษาคดีนั้นไม่
๕. ระยะเวลาการฟ้องคดีปกครอง
ก่อนผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหาย จะดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลปกครองจำเป็นต้องรู้ถึงระยะเวลาในการฟ้องคดีปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
พ.ศ. ๒๕๔๒ เพื่อไม่ให้เป็นคดีขาดอายุความ ซึ่งศาลจะไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา ระยะเวลาการฟ้องคดีปกครอง อาจแบ่งได้ ๘ กรณี ดังนี้
๑) กรณีขอให้เพิกถอนกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือ การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การฟ้องคดีเพื่อขอให้เพิกถอนกฎ หรือคำสั่งทางปกครอง[๑๗] หรือการกระทำอื่นที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กฎหมายได้กำหนดให้ต้องยื่นให้ต้องยื่นฟ้องภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันรู้ หรือควรรู้ถึงเหตุแห่ง
การฟ้องคดีปกครอง
๒) กรณีหน่วยงานปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ละเลยต่อหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร
การฟ้องคดีในกรณีที่หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร กฎหมายได้กำหนดให้ต้องยื่นฟ้องภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดีหรือนับแต่วันที่พ้นกำหนด ๙๐ วัน นับแต่วันที่
ผู้ฟ้องคดีมีหนังสือร้องขอหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด และไม่ได้รับหนังสือชี้แจงจากหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือได้รับแต่เป็นคำชี้แจง
ที่เห็นว่าไม่มีเหตุผล
๓) ในกรณีที่ผู้ฟ้องคดีร้องขอต่อหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่หน่วยงานละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร กรณีเช่นนี้จะเริ่มนับระยะเวลาการฟ้องคดีตั้งแต่วันที่พ้นกำหนด ๙๐ วัน นับแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือหรือร้องขอต่อหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
๔) ในกรณีผู้ฟ้องคดีได้รับหนังสือชี้แจงจากหน่วยงานแต่เห็นว่าเป็นคำชี้แจงที่ไม่มีเหตุผล กรณีเช่นนี้ให้เริ่มนับระยะเวลาการฟ้องคดีตั้งแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีได้รับหนังสือชี้แจง
๕) กรณีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง
กรณีที่มีกฎหมายกำหนดให้ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายในเรื่องนั้นๆ ต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ซึ่งผู้ฟ้องคดีจะต้องฟ้องภายในกำหนด ๙๐ วันนับแต่วันที่รู้หรือควรได้รู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี
๖) กรณีละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ กฎหมายได้กำหนดให้ต้องยื่นฟ้องภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี แต่ไม่เกิน ๑๐ ปี นับแต่วันที่มีเหตุแห่งการฟ้องคดี
๗) สัญญาทางปกครอง
การฟ้องคดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง กฎหมายได้กำหนดให้ต้องยื่นฟ้องภายใน ๕ ปี นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี แต่ไม่เกิน ๑๐ ปี นับแต่วันที่มีเหตุแห่งการฟ้องคดี
๘) การคุ้มครองประโยชน์สาธารณะหรือสถานะของบุคคล
การยื่นฟ้องคดีปกครองที่เกี่ยวกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะหรือสถานะ
ของบุคคล กฎหมายได้กำหนดให้ยื่นฟ้องเมื่อใดก็ได้ หรือกรณีการฟ้องคดีปกครองที่ยื่นฟ้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาการฟ้องคดีแล้ว แต่ถ้าศาลปกครองเห็นว่าคดีที่ยื่นฟ้องนั้น จะเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม หรือมีเหตุจำเป็นอื่นโดยศาลเห็นเองหรือคู่กรณีมีคำขอ ศาลปกครองจะรับไว้พิจารณาก็ได้
ข้อสังเกต
๑) ศาลปกครองเห็นว่าคดีที่ยื่นฟ้องนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมหรือมีเหตุจำเป็นอื่น ศาลปกครองอาจรับไว้พิจารณาก็ได้
๒) ถ้ากฎหมายกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการสำหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหาย
ในเรื่องใดไว้เฉพาะ การฟ้องคดีปกครองในเรื่องนั้นจะกระทำได้ต่อเมื่อมีการดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการดังกล่าว และได้มีการสั่งการตามกฎหมายนั้น หรือมิได้มีการสั่งการภายในเวลาอันสมควรหรือภายในเวลาที่กฎหมายนั้นกำหนด[๑๘]
๖. กรณีคำฟ้องที่มีรายการไม่ครบถ้วน
คำฟ้องที่ยื่นต่อศาลปกครอง หากเป็นคำฟ้องที่มีรายการไม่ครบถ้วนตามที่ได้กล่าวมาหรือไม่ชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น เขียนหรือพิมพ์แล้วอ่านไม่ออกหรือไม่อาจเข้าใจได้ กล่าวคือ อ่านแล้วไม่เข้าใจว่าผู้ฟ้องคดี
ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายในเรื่องใด หรือมีความประสงค์ให้ศาลกำหนดคำบังคับเป็นประการใด พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๔๕ วรรคสอง ได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่ของศาลปกครองคืนคำฟ้องให้ผู้ฟ้องคดีพร้อมกับให้คำแนะนำแก่ผู้ฟ้องคดีเพื่อดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องนั้นให้ถูกต้อง และกฎหมายให้ถือวันที่ยื่นฟ้องครั้งแรกเป็นหลักในการนับอายุความ อย่างไรก็ดี หากผู้ฟ้องคดีไม่ยอมรับคำฟ้องคืนไปเพื่อแก้ไข เจ้าหน้าที่ของศาลปกครองต้องรับคำฟ้องนั้นไว้จะปฏิเสธไม่ได้ เมื่อรับคำฟ้องไว้แล้วต้องออกใบรับให้ผู้มายื่นฟ้อง และลงทะเบียนคดีในสารบบด้วย
๗. กรณีบุคคลหลายคนฟ้องคดี
กรณีที่มีผู้ประสงค์จะฟ้องคดีปกครองหลายคนในเหตุเดียวกันบุคคลเหล่านั้นอาจยื่นคำฟ้องร่วมกันเป็นฉบับเดียว โดยจะมอบหมายให้ผู้ฟ้องคดีคนใดเป็นผู้แทนของผู้ฟ้องคดีทุกคนในการดำเนินคดีต่อไปก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ให้ถือว่าการกระทำของผู้แทนผู้ฟ้องคดีในกระบวนพิจารณาผูกพันผู้ฟ้องคดีทุกคน[๑๙]
ทั้งนี้ กรณีดังกล่าวข้างต้นมิใช่เป็นเรื่องการฟ้องคดีปกครองของคณะบุคคล แต่เป็นเรื่องการฟ้องคดีปกครองของบุคคลหลายคน และต่างคนก็ต่างได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายในเหตุเดียวกัน
ซึ่งบุคคลแต่ละคนดังกล่าวมีสิทธิฟ้องคดีของตนเป็นเอกเทศ แต่เพื่อความรวดเร็วในกระบวนการพิจารณาตามกฎหมาย
และเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่บุคคลเหล่านั้น โดยให้สามารถยื่นคำฟ้องร่วมกันเป็นฉบับเดียวได้และจะมอบหมายให้คนใดคนหนึ่งที่ร่วมฟ้องคดีนั้นเป็นผู้แทนของผู้ฟ้องคดีทุกคนในการดำเนินคดีในเรื่องที่ฟ้องต่อไปก็ได้
ในกรณีเช่นนี้กฎหมายให้ถือว่าการกระทำให้กระบวนพิจารณาของบุคคลที่เป็นผู้แทนของผู้ฟ้องคดีย่อมผูกพัน
ผู้ฟ้องคดีทุกคน
–––––––––––––––––––
บรรณานุกรม
หนังสือ
ดร. วรรชัย บุญบำรุง, ดร. ธนกฤต วรธนัชชากุล และคณะ. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ฉบับอ้างอิง. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน, ๒๕๕๓
อำพน เจริญวินทร์. คำอธิบายการฟ้องและการดำเนินคดีในศาลปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์นิติธรรม, ๒๕๕๐
ชาญชัย แสวงศักดิ์. คำอธิบายกฎหมายจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง, พิมพ์ครั้งที่ ๖.
กรุงเทพฯ : วิญญูชน, ๒๕๕๐.
สำนักงานศาลปกครอง. ที่นี่… สถานีคดีปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพฯ : สำนักประชาสัมพันธ์
สำนักงานศาลปกครอง, ๒๕๕๓
สำนักงานศาลปกครอง. สารพันปัญหาคดีปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพฯ : สำนักประชาสัมพันธ์
สำนักงานศาลปกครอง, ๒๕๕๓
ร.ศ. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. “วิธีพิจารณาคดีปกครองในฝรั่งเศส” ในเอกสารประกอบคำบรรยายวิชากฎหมาย
วิธีพิจารณาคดีปกครองชั้นสูง. หน้า ๑๓. ผ.ศ.ดร. ขวัญชัย สันตสว่าง และ ดร. สถาพร สระมาลีย์.
กรุงเทพฯ : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๔๙.
กฎหมาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๓
[๑] ในบางคดี ผู้ฟ้องจะมีสิทธิฟ้องต่อศาลปกครองได้จะต้องร้องขอให้ฝ่ายปกครองตัดสินเยียวยาให้ตนก่อนจะนำคดีมาฟ้องศาลปกครองได้ (la decision prealable) กล่าวคือ การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองกับเจ้าหน้าที่ที่ออกคำสั่งทางปกครอง ก่อนตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙
[๒] มาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง “คำฟ้อง” หมายความว่า การเสนอข้อหาต่อศาลไม่ว่าจะเสนอต่อ ศาลปกครองชั้นต้นหรือศาลปกครองสูงสุด ไม่ว่าจะได้เสนอในขณะที่เริ่มฟ้องคดีโดยคำฟ้องหรือคำร้องขอ หรือเสนอในภายหลัง โดยฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไข หรือฟ้องแย้ง หรือโดยสอดเข้ามาในคดีไม่ว่าด้วยความสมัครใจ หรือถูกบังคับ หรือโดยมีคำขอให้พิจารณาใหม่
[๓] มาตรา ๑ (๓) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง “คำฟ้อง” หมายความว่า กระบวนพิจารณาใดๆ ที่โจทก์เสนอข้อหาต่อศาล ไม่ว่าจะได้เสนอด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือ ไม่ว่าจะได้เสนอต่อศาลชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์ หรือฎีกา ไม่ว่าจะได้เสนอขณะเริ่มคดีโดย คำฟ้องหรือคำร้องขอ หรือเสนอในภายหลังโดยคำฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไข หรือฟ้องแย้ง หรือโดยสอดเข้ามาในคดีไม่ว่าด้วยสมัครใจหรือถูกบังคับ หรือโดยมีคำขอให้พิจารณาใหม่
[๔] ประเทศฝรั่งเศสคำฟ้องในคดีปกครองไม่ใช่ที่ยึดรูปแบบ (formaliste) ขอเพียงเขียนบนกระดาษปิดอากรแสตมป์ ระบุข้อเท็จจริง ข้ออ้างทางกฎหมาย และค่าสรุปโดยย่อก็เพียงพอแล้ว
[๕] ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๓ ข้อ ๓๒ วรรคสอง
[๖] หนังสือมอบฉันทะ คือ ผู้ฟ้องคดีประสงค์จะให้ผู้รับมอบทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดภายในกรอบระยะเวลาที่จำกัดเพียงคราวเดียวก็เป็นอันเสร็จสิ้น
[๗] หนังสือมอบอำนาจ คือ ผู้ฟ้องคดีประสงค์ให้การมอบอำนาจยังคงใช้ได้อยู่ตลอด จนกว่าการที่ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจจะเสร็จสิ้น โดยไม่จำต้องมีการทำหนังสือมอบอำนาจขึ้นใหม่หลายๆ ครั้ง
[๘] ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๓ ข้อ ๓๒ วรรคแรก
[๙] ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๓ ข้อ ๓๓ วรรคแรก
[๑๐] ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๓ ข้อ ๓๔ วรรคแรก
[๑๑] พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๔๕ (๕)
[๑๒] การส่งคำฟ้องทางไปรษณีย์ลงทะเบียน กรณียื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้น (ศาลปกครองกลางและศาลปกครองในภูมิภาคทุกแห่ง) ให้ผู้ฟ้องคดีจ่าหน้าซองถึงสำนักงานศาลปกครองกลางหรือสำนักงานศาลปกครองในภูมิภาคแห่งที่ประสงค์จะยื่นฟ้อง หรือกรณียื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดให้ผู้ฟ้องคดีจ่างหน้าซองถึงสำนักงานศาลปกครองสูงสุด
[๑๓] พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๗
[๑๔] ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๓ ข้อ ๒๙ วรรคสอง
[๑๕] ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๓ ข้อ ๒๙ วรรคสาม
[๑๖] ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๓ ข้อ ๓๖
[๑๗] ต้องดำเนินการยื่นอุทธรณ์คำสั่งต่อหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ที่ทำคำสั่งทางปกครอง ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙
[๑๘] พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๔๒ วรรคสอง
๒) กรณีหน่วยงานปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ละเลยต่อหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร
การฟ้องคดีในกรณีที่หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร กฎหมายได้กำหนดให้ต้องยื่นฟ้องภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดีหรือนับแต่วันที่พ้นกำหนด ๙๐ วัน นับแต่วันที่
ผู้ฟ้องคดีมีหนังสือร้องขอหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด และไม่ได้รับหนังสือชี้แจงจากหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือได้รับแต่เป็นคำชี้แจง
ที่เห็นว่าไม่มีเหตุผล
๓) ในกรณีที่ผู้ฟ้องคดีร้องขอต่อหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่หน่วยงานละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร กรณีเช่นนี้จะเริ่มนับระยะเวลาการฟ้องคดีตั้งแต่วันที่พ้นกำหนด ๙๐ วัน นับแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือหรือร้องขอต่อหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
๔) ในกรณีผู้ฟ้องคดีได้รับหนังสือชี้แจงจากหน่วยงานแต่เห็นว่าเป็นคำชี้แจงที่ไม่มีเหตุผล กรณีเช่นนี้ให้เริ่มนับระยะเวลาการฟ้องคดีตั้งแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีได้รับหนังสือชี้แจง
๕) กรณีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง
กรณีที่มีกฎหมายกำหนดให้ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายในเรื่องนั้นๆ ต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ซึ่งผู้ฟ้องคดีจะต้องฟ้องภายในกำหนด ๙๐ วันนับแต่วันที่รู้หรือควรได้รู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี
๖) กรณีละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ กฎหมายได้กำหนดให้ต้องยื่นฟ้องภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี แต่ไม่เกิน ๑๐ ปี นับแต่วันที่มีเหตุแห่งการฟ้องคดี
๗) สัญญาทางปกครอง
การฟ้องคดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง กฎหมายได้กำหนดให้ต้องยื่นฟ้องภายใน ๕ ปี นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี แต่ไม่เกิน ๑๐ ปี นับแต่วันที่มีเหตุแห่งการฟ้องคดี
๘) การคุ้มครองประโยชน์สาธารณะหรือสถานะของบุคคล
การยื่นฟ้องคดีปกครองที่เกี่ยวกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะหรือสถานะ
ของบุคคล กฎหมายได้กำหนดให้ยื่นฟ้องเมื่อใดก็ได้ หรือกรณีการฟ้องคดีปกครองที่ยื่นฟ้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาการฟ้องคดีแล้ว แต่ถ้าศาลปกครองเห็นว่าคดีที่ยื่นฟ้องนั้น จะเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม หรือมีเหตุจำเป็นอื่นโดยศาลเห็นเองหรือคู่กรณีมีคำขอ ศาลปกครองจะรับไว้พิจารณาก็ได้
ข้อสังเกต
๑) ศาลปกครองเห็นว่าคดีที่ยื่นฟ้องนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมหรือมีเหตุจำเป็นอื่น ศาลปกครองอาจรับไว้พิจารณาก็ได้
๒) ถ้ากฎหมายกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการสำหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหาย
ในเรื่องใดไว้เฉพาะ การฟ้องคดีปกครองในเรื่องนั้นจะกระทำได้ต่อเมื่อมีการดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการดังกล่าว และได้มีการสั่งการตามกฎหมายนั้น หรือมิได้มีการสั่งการภายในเวลาอันสมควรหรือภายในเวลาที่กฎหมายนั้นกำหนด[๑๘]
๖. กรณีคำฟ้องที่มีรายการไม่ครบถ้วน
คำฟ้องที่ยื่นต่อศาลปกครอง หากเป็นคำฟ้องที่มีรายการไม่ครบถ้วนตามที่ได้กล่าวมาหรือไม่ชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น เขียนหรือพิมพ์แล้วอ่านไม่ออกหรือไม่อาจเข้าใจได้ กล่าวคือ อ่านแล้วไม่เข้าใจว่าผู้ฟ้องคดี
ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายในเรื่องใด หรือมีความประสงค์ให้ศาลกำหนดคำบังคับเป็นประการใด พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๔๕ วรรคสอง ได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่ของศาลปกครองคืนคำฟ้องให้ผู้ฟ้องคดีพร้อมกับให้คำแนะนำแก่ผู้ฟ้องคดีเพื่อดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องนั้นให้ถูกต้อง และกฎหมายให้ถือวันที่ยื่นฟ้องครั้งแรกเป็นหลักในการนับอายุความ อย่างไรก็ดี หากผู้ฟ้องคดีไม่ยอมรับคำฟ้องคืนไปเพื่อแก้ไข เจ้าหน้าที่ของศาลปกครองต้องรับคำฟ้องนั้นไว้จะปฏิเสธไม่ได้ เมื่อรับคำฟ้องไว้แล้วต้องออกใบรับให้ผู้มายื่นฟ้อง และลงทะเบียนคดีในสารบบด้วย
๗. กรณีบุคคลหลายคนฟ้องคดี
กรณีที่มีผู้ประสงค์จะฟ้องคดีปกครองหลายคนในเหตุเดียวกันบุคคลเหล่านั้นอาจยื่นคำฟ้องร่วมกันเป็นฉบับเดียว โดยจะมอบหมายให้ผู้ฟ้องคดีคนใดเป็นผู้แทนของผู้ฟ้องคดีทุกคนในการดำเนินคดีต่อไปก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ให้ถือว่าการกระทำของผู้แทนผู้ฟ้องคดีในกระบวนพิจารณาผูกพันผู้ฟ้องคดีทุกคน[๑๙]
ทั้งนี้ กรณีดังกล่าวข้างต้นมิใช่เป็นเรื่องการฟ้องคดีปกครองของคณะบุคคล แต่เป็นเรื่องการฟ้องคดีปกครองของบุคคลหลายคน และต่างคนก็ต่างได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายในเหตุเดียวกัน
ซึ่งบุคคลแต่ละคนดังกล่าวมีสิทธิฟ้องคดีของตนเป็นเอกเทศ แต่เพื่อความรวดเร็วในกระบวนการพิจารณาตามกฎหมาย
และเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่บุคคลเหล่านั้น โดยให้สามารถยื่นคำฟ้องร่วมกันเป็นฉบับเดียวได้และจะมอบหมายให้คนใดคนหนึ่งที่ร่วมฟ้องคดีนั้นเป็นผู้แทนของผู้ฟ้องคดีทุกคนในการดำเนินคดีในเรื่องที่ฟ้องต่อไปก็ได้
ในกรณีเช่นนี้กฎหมายให้ถือว่าการกระทำให้กระบวนพิจารณาของบุคคลที่เป็นผู้แทนของผู้ฟ้องคดีย่อมผูกพัน
ผู้ฟ้องคดีทุกคน
–––––––––––––––––––
ตัวอย่างคำฟ้อง
๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕
บรรณานุกรม
หนังสือ
ดร. วรรชัย บุญบำรุง, ดร. ธนกฤต วรธนัชชากุล และคณะ. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ฉบับอ้างอิง. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน, ๒๕๕๓
อำพน เจริญวินทร์. คำอธิบายการฟ้องและการดำเนินคดีในศาลปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์นิติธรรม, ๒๕๕๐
ชาญชัย แสวงศักดิ์. คำอธิบายกฎหมายจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง, พิมพ์ครั้งที่ ๖.
กรุงเทพฯ : วิญญูชน, ๒๕๕๐.
สำนักงานศาลปกครอง. ที่นี่… สถานีคดีปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพฯ : สำนักประชาสัมพันธ์
สำนักงานศาลปกครอง, ๒๕๕๓
สำนักงานศาลปกครอง. สารพันปัญหาคดีปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพฯ : สำนักประชาสัมพันธ์
สำนักงานศาลปกครอง, ๒๕๕๓
ร.ศ. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. “วิธีพิจารณาคดีปกครองในฝรั่งเศส” ในเอกสารประกอบคำบรรยายวิชากฎหมาย
วิธีพิจารณาคดีปกครองชั้นสูง. หน้า ๑๓. ผ.ศ.ดร. ขวัญชัย สันตสว่าง และ ดร. สถาพร สระมาลีย์.
กรุงเทพฯ : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๔๙.
กฎหมาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๓
[๑] ในบางคดี ผู้ฟ้องจะมีสิทธิฟ้องต่อศาลปกครองได้จะต้องร้องขอให้ฝ่ายปกครองตัดสินเยียวยาให้ตนก่อนจะนำคดีมาฟ้องศาลปกครองได้ (la decision prealable) กล่าวคือ การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองกับเจ้าหน้าที่ที่ออกคำสั่งทางปกครอง ก่อนตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙
[๒] มาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง “คำฟ้อง” หมายความว่า การเสนอข้อหาต่อศาลไม่ว่าจะเสนอต่อ ศาลปกครองชั้นต้นหรือศาลปกครองสูงสุด ไม่ว่าจะได้เสนอในขณะที่เริ่มฟ้องคดีโดยคำฟ้องหรือคำร้องขอ หรือเสนอในภายหลัง โดยฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไข หรือฟ้องแย้ง หรือโดยสอดเข้ามาในคดีไม่ว่าด้วยความสมัครใจ หรือถูกบังคับ หรือโดยมีคำขอให้พิจารณาใหม่
[๓] มาตรา ๑ (๓) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง “คำฟ้อง” หมายความว่า กระบวนพิจารณาใดๆ ที่โจทก์เสนอข้อหาต่อศาล ไม่ว่าจะได้เสนอด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือ ไม่ว่าจะได้เสนอต่อศาลชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์ หรือฎีกา ไม่ว่าจะได้เสนอขณะเริ่มคดีโดย คำฟ้องหรือคำร้องขอ หรือเสนอในภายหลังโดยคำฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไข หรือฟ้องแย้ง หรือโดยสอดเข้ามาในคดีไม่ว่าด้วยสมัครใจหรือถูกบังคับ หรือโดยมีคำขอให้พิจารณาใหม่
[๔] ประเทศฝรั่งเศสคำฟ้องในคดีปกครองไม่ใช่ที่ยึดรูปแบบ (formaliste) ขอเพียงเขียนบนกระดาษปิดอากรแสตมป์ ระบุข้อเท็จจริง ข้ออ้างทางกฎหมาย และค่าสรุปโดยย่อก็เพียงพอแล้ว
[๕] ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๓ ข้อ ๓๒ วรรคสอง
[๖] หนังสือมอบฉันทะ คือ ผู้ฟ้องคดีประสงค์จะให้ผู้รับมอบทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดภายในกรอบระยะเวลาที่จำกัดเพียงคราวเดียวก็เป็นอันเสร็จสิ้น
[๗] หนังสือมอบอำนาจ คือ ผู้ฟ้องคดีประสงค์ให้การมอบอำนาจยังคงใช้ได้อยู่ตลอด จนกว่าการที่ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจจะเสร็จสิ้น โดยไม่จำต้องมีการทำหนังสือมอบอำนาจขึ้นใหม่หลายๆ ครั้ง
[๘] ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๓ ข้อ ๓๒ วรรคแรก
[๙] ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๓ ข้อ ๓๓ วรรคแรก
[๑๐] ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๓ ข้อ ๓๔ วรรคแรก
[๑๑] พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๔๕ (๕)
[๑๒] การส่งคำฟ้องทางไปรษณีย์ลงทะเบียน กรณียื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้น (ศาลปกครองกลางและศาลปกครองในภูมิภาคทุกแห่ง) ให้ผู้ฟ้องคดีจ่าหน้าซองถึงสำนักงานศาลปกครองกลางหรือสำนักงานศาลปกครองในภูมิภาคแห่งที่ประสงค์จะยื่นฟ้อง หรือกรณียื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดให้ผู้ฟ้องคดีจ่างหน้าซองถึงสำนักงานศาลปกครองสูงสุด
[๑๓] พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๗
[๑๔] ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๓ ข้อ ๒๙ วรรคสอง
[๑๕] ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๓ ข้อ ๒๙ วรรคสาม
[๑๖] ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๓ ข้อ ๓๖
[๑๗] ต้องดำเนินการยื่นอุทธรณ์คำสั่งต่อหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ที่ทำคำสั่งทางปกครอง ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙
[๑๘] พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๔๒ วรรคสอง
[๑๙] พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๔๕ วรรคสาม