การเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง คือ การทบทวนคำสั่งทางปกครองของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครอง
การเพิกถอนต่างกับการอุทธรณ์ ตรงที่การเพิกถอนเป็นดุลยพินิจ เจ้าหน้าที่ไม่จำเป็นต้องมีคนขอเข้าไป แต่การอุทธรณ์จะต้องมีคำขอเข้าไป
หลักเกณฑ์การเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง
1. ผู้มีอำนาจเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา 49 วรรค 1 มี 2 คน
– เจ้าหน้าที่ออกคำสั่งทางปกครอง
– ผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ที่ออกคำสั่งทางปกครอง
2. ระยะเวลาในการเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง จะเพิกถอนคำสั่งทางปกครองเมื่อไหร่ก็ได้ แม้ว่าจะเป็นระยะเวลาของการอุทธรณ์ไปแล้วหรือแม้แต่ว่าคดีจะไปสู่ศาลปกครองแล้วก็เพิกถอนได้
ผลของการเพิกถอนคำสั่งปกครอง
คำสั่งทางปกครองมีการเพิกถอนไปแล้ว คู่กรณีที่ได้รับความเสียหายมีสิทธิได้รับค่าทดแทน เช่น ถ้ามีคำสั่งให้ปิดสถานประกอบการ 30 วัน ซึ่งความจริงแล้วเจ้าของสถานประกอบการไม่มีความผิด ไม่ได้ทำอะไรขัดต่อกฎหมาย ใน 30 วันที่ปิดกิจการเกิดความเสียหายขึ้น ขาดรายได้จาการประกอบกิจการ เจ้าของสถานประกอบการสามารถเรียกค่าทดแทนได้ ตามมาตรา 52 ในกรณีที่เจ้าหน้าที่เพิกถอนคำสั่งทางปกครองแล้ว และผู้รับคำสั่งทางปกครองได้รับความเสียหาย แล้วเจ้าหน้าที่ไม่จ่ายค่าเสียหาย ผู้รับผลกระทบสามารถไปเรียกร้องจากหน่วยงานที่เจ้าหน้าที่นั้นสังกัดอยู่ได้ภายใน 180 วัน
2021-07-25