ข้าราชการส่วนท้องถิ่นถูกควบคุม ขัง หรือจำคุกในคดีอาญา ถือว่าละทิ้งหน้าที่ราชการหรือไม่ และสิ้นสภาพความเป็นข้าราชการลงเมื่อใด ?

ประเด็นคำถาม

๑. ข้าราชการส่วนท้องถิ่นถูกควบคุม ขัง หรือจำคุกในคดีอาญา ถือว่าละทิ้งหน้าที่ราชการหรือไม่

๒. กรณีดังกล่าวต้องตั้งกรรมการสอบสวนหรือไม่ ๓. สภาพความเป็นข้าราชการสิ้นสุดลงเมื่อใดสรุปคำตอบ ๑. ไม่ถือว่าละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มึเหตุผลอันสมควร แต่.. ๒. หากคดีถึงที่สุด ย่อมเป็นดุลพินิจของนายกฯ ว่าจะดำเนินการทางวินัยโดยไม่สอบสวน หรืองดการสอบสวนหรือไม่ เนื่องจากเป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง

๓. เมื่อดำเนินการครบถ้วนแล้ว ปกติถือวันต้องถูกควบคุม ขัง หรือจำคุกในคดีอาญาเป็นวันสิ้นสภาพความเป็นข้าราชการขยาย

ความประเด็น

๑. นายกฯ ต้องดำเนินการ ดังนี้

(๑) รายงานไปยัง ก.จังหวัดเพื่อขอความเห็นชอบให้ออกจากราชการไว้ก่อน หากถูกควบคุม ขัง หรือจำคุกในคดีอาญาเกินกว่า ๑๕ วันแล้ว [ข้อ ๑๔ (๕)]

(๒) ดำเนินการทางวินัยไปพร้อมกัน (ว ๔)

๒. เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุด ไม่ถือเป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง นายกฯ ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง (ข้อ ๒๖ ว ๖)

๓. เพียงถูกคุมขัง หรือจำคุกในคดีอาญา สภาพความเป็นข้าราชการยังคงอยู่ และสิ้นสุดลงเมื่อ (๑) กรณีถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ก.จังหวัด มีมติให้ลงโทษปลดออก/ไล่ออกจากราชการ เนื่องจากต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก (ข้อ ๒๓ ว ๒) (การสอบสวนแล้วเสร็จ มักล่วงเลยระยะเวลาอุทธรณ์/ฎีกาแล้ว) โดยนายกฯ ต้องออกคำสั่งลงโทษปลดออก/ไล่ออกจากราชการ ตามมติ ก.จังหวัด ตั้งแต่วันต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด หรือวันต้องคำพิพากษาถึงที่สุด หรือวันถูกคุมขังติดต่อกันจนถึงวันต้องคำพิพากษาถึงที่สุด แล้วแต่กรณี [ข้อ ๓๓ (๓)] (๒) กรณีข้างต้นมีผลทำให้พ้นจากสภาพความเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น/พนักงานจ้าง (ม.๑๕ ว ๑)

ขอบคุณข้อมูล ชมรมนิติกร อปท.