เงื่อนไขการฟ้องคดีปกครอง

เงื่อนไขการฟ้องคดีปกครอง
    1. เงื่อนไขเกี่ยวกับผู้มีสิทธิฟ้องคดี และความสามารถของผู้ฟ้องคดี ตามมาตรา 42 ผู้ที่ได้รับความเดือนร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อน หรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องมาจาก
            (1) การกระทำหรือการงดเว้นกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
            (2) มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
            (3) กรณีอื่นที่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองตามมาตรา 9
            (4) กรณีการแก้ไขหรือบรรเทาความเดือดร้อน หรือความเสียหาย หรือยุติข้อโต้แย้งนั้น ต้องมีบังคับตามมาตรา 72
    2. เงื่อนไขเกี่ยวกับคำขอในคำฟ้องให้ศาลมีคำบังคับ เพื่อแก้ไขความเดือนร้อนเสียหาย ตามมาตรา 72
            (1) ขอสั่งให้เพิกถอนกฎหรือคำสั่ง หรือสั่งห้ามกระทำทั้งหมด หรือบางส่วน
            (2) ขอให้ศาลสั่งให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติหน้าที่ภายในเวลาที่ศาลปกครองกำหนด
            (3) ขอให้ศาลสั่งให้ใช้เงิน หรือใช้ส่งมอบทรัพย์สิน หรือให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการ เช่น ให้ชำระค่าจ้างหรือเงินอื่นใดตามสัญญาทางปกครอง
            (4) สั่งให้ถือปฏิบัติต่อสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ฟ้องคดีเพื่อให้ศาลสั่งว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสัญชาติไทย และให้ถือปฏิบัติต่อผู้ฟ้องคดีในฐานะผู้มีสัญชาติไทย
            (5) สั่งให้บุคคลกระทำหรือละเว้นการกระทำ อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย เช่น เจ้าท่าสั่งให้รื้อถอนเรือนที่ปักเสาลงในน้ำ เมื่อเจ้าของเรือนไม่รื้อถอนก็ต้องฟ้องต่อศาล ให้ศาลสั่งให้รื้อถอนเรือน
    3. เงื่อนไขเกี่ยวกับการเยียวยา แก้ไขความเดือดร้อนเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดี
    4. เงื่อนไขเกี่ยวกับคำฟ้องและเอกสารที่ยื่นต่อศาล ( เป็นเรื่องของเสมียน)
    5. เงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาในการฟ้องคดี คดีปกครองระยะเวลาในการฟ้องคดีสั้นมาก มีระยะเวลาอยู่ 3 กรณี
            1. การฟ้องคดีปกครองทั่วไป ตามมาตรา 49 ถ้าเป็นคดีปกครองทั่วไปไม่ว่าจะเป็นเรื่องคำสั่งทางปกครอง เรื่องกฎ จะต้องฟ้องภายใน 90 วัน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้เหตุแห่งการฟ้องคดี
            2. การฟ้องคดีปกครองที่เกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือสัญญาทางปกครอง ต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการการฟ้องคดี แต่ต้องไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่เหตุแห่งการฟ้องคดีมันเกิดขึ้น ตามมาตรา 51
            3. การฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะหรือสถานะของบุคคล การฟ้องคดีในกรณีไม่มีอายุความฟ้องเมื่อใดก็ได้ ตามมาตรา 52 ,มาตรา 52 วรรค 2 เป็นลักษณะพิเศษของศาลปกครอง คือ การฟ้องคดีที่พ้นระยะเวลาไปแล้ว ศาลอาจใช้ดุลยพินิจรับไว้พิจารณาได้
    6. เงื่อนไขเกี่ยวกับข้อห้ามในการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง มี 4 กรณี ศาลปกครองจะไม่รับฟ้องไว้พิจารณา
            1. ฟ้องซ้ำ
            2. ฟ้องซ้อน
            3. ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
            4. การห้ามฟ้องเจ้าหน้าที่ทำละเมินในการปฏิบัติหน้าที่ ตาม ม.5 แห่งความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

กดแชร์