หลักเกณฑ์การหมั้น ม.1435 การหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว การหมั้นที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติวรรคหนึ่ง เป็นโมฆะ
ข้อสังเกตุ การหมั้น จะต้องมีของหมั้นเสมอ และของหมั้นนั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิงทันทีที่หมั้นกัน นอกจากนี้ ของหมั้นนั้นต้องเป็นทรัพย์สินที่ได้ให้กันโดยชายหญิงมีเจตนาจะไปจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย หากให้ทรัพย์สินกันโดยที่ชายหญิงไม่มีเจตนาจะไปจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายแล้ว ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นของหมั้นตามความหมายของกฎหมาย ฝ่ายชายจะเรียกคืนไม่ได้
ก่อนแต่งงานจะมีพิธีที่เรียกว่า “การหมั้น” เป็นสัญญาใจระหว่างหนุ่มสาว ว่าจะสมรสกันในภายหน้า และในพิธีหมั้น จะมีการให้สิ่งที่เรียกว่า “ของหมั้น”
#ของหมั้น#คำนี้ในกฎหมายแปลว่า : ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนให้แก่ฝ่ายหญิง ไว้เป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงคนนั้น ดังนั้น การหมั้นเปรียบเสมือนการทำสัญญาใจระหว่างชายหญิง ส่วน ของหมั้น คือ สิ่งที่ทำให้สัญญาใจนั้นมีน้ำหนักมากขึ้น แต่การหมั้นจะไม่ทำให้สถานะของหญิงชายตามกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป
.
การหมั้นย่อมมีผลทางกฎหมายอย่างแน่นอน เพราะเมื่อหมั้นกันแล้วของหมั้นนั้นย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของหญิงคู่หมั้นทันที “ของหมั้น” ตามกฎหมายนั้น ได้แก่
.
ของหมั้นต้องเป็นทรัพย์สิน – สังหาริมทรัพย์ หรืออสังหาริมทรัพย์ ก็ได้ และยังอาจหมายความรวมถึงสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้ด้วย เช่น ลิขสิทธิ์ เป็นต้น
.
ของหมั้นต้องเป็นของฝ่ายชายที่ให้ไว้แก่หญิงเท่านั้น เพราะตามกฎหมายการหมั้นจะสมบูรณ์ต่อเมื่อชายคู่หมั้นส่งมอบทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิงคู่หมั้นเท่านั้น ดังนั้น ทรัพย์สินที่หญิงให้แก่ชาย จึงไม่ถือเป็นของหมั้น และไม่ทำให้การหมั้นนั้นสมบูรณ์ตามกฎหมาย