คดีฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร

    เมื่อสามีภริยาหย่าขาดจากกันแล้ว แต่ยังคงต้องมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรต่อไป เพราะการหย่าขาดจากกัน มิได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับบุตรสิ้นสุดลง โดยในการหย่าโดยความยินยอมอาจมีการกำหนดจำนวนค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ แต่หากมิได้ตกลงกันไว้ในท้ายทะเบียนการหย่า ต้องให้ศาลสั่งกำหนดจำนวนเงินให้ตามสมควร 

    กรณีทอดทิ้งไม่เลี้ยงดู โดยประการที่น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตได้ ย่อมมีความผิดอาญา มาตรา 307

    ค่าอุปการะเลี้ยงดู ถือเป็นหนี้ร่วมกัน แม้จะใช้อำนาจปกครองเพียงฝ่ายเดียว หากอีกฝ่ายเป็นผู้ออกค่าอุปการะเลี้ยงดู ก็สามารถมีสิทธิเรียกร้องในนามตนเอง โดยกรณีเช่นนี้มีอายุความ 5 ปี นับแต่วันที่ฝ่ายนั้นได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูไปฝ่ายเดียว

ค่าอุปการะเลี้ยงดู ได้แก่ ค่าที่พักอาศัย ค่าอาหาร ค่าเสื้อผ้า ค่าการศึกษาเล่าเรียน ค่ารักษาพยาบาล

กรณียังไม่ได้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย สามารถขอให้ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรและจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูในคดีเดียวกันได้ ถือว่าเป็นเรื่องต่อเนื่องจากการรับรองบุตร เมื่อมีข้อตกลงเรื่องค่าเลี้ยงดูบุตร มีสัญญาต่อกันแล้ว จะมีอ้างเหตุภาระต้องเลี้ยงดูบุตรที่เกิดกับภริยาคนใหม่ และมีหนี้สินมาอ้างเพื่อปัดความรับผิดไม่ได้ สามารถขอแก้ไข ลด เพิ่ม ได้ หากฐานะและรายได้เปลี่ยนแปลงไป