ประกันตัวชั้นอัยการ

ประกันตัวชั้นอัยการ

ารประกันตัวผู้ต้องหาในชั้นอัยการ

การประกันตัว คือ การขอให้ปล่อยผู้ต้องหา ในระหว่างพิจารณาสำนวนของ

พนักงานอัยการ

การประกันตัว หรือ การปล่อยชั่วคราว มีอยู่ ๒ กรณี คือ             

 ๑. บันทึกทราบนัด ๒. การใช้หลักทรัพย์ในการประกัน

๑. การบันทึกทราบนัด              

                เป็นกรณีที่ผู้ต้องหาเข้าพบพนักงานสอบสวนเพื่อรับทราบ ข้อกล่าวหา 

อาจเป็นการเข้าพบตามหมายเรียก หรือเข้าพบโดยพนักงานสอบสวนแจ้งให้มา        

พบตามวันเวลาที่กำหนด  โดยไม่ได้มีการจับกุมหรือควบคุมตัว   ในกรณีดังกล่าวนี้

เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจส่งสำนวนการสอบสวน พร้อมตัวผู้ต้องหามายังสำนักงาน

อัยการ เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานอัยการจะให้  ผู้ต้องหามารายงานตัวต่อ

สำนักงานอัยการตามกำหนดที่นัดไว้ ซึ่งในกรณีนี้ผู้ต้องหาไม่ต้องใช้หลักทรัพย์

ในการยื่นประกันตัวแต่อย่างใด

๒. การใช้หลักทรัพย์ประกัน

 เป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมตัวผู้ต้องหา   หรือผู้กระทำผิด และได้มีการ

ควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้ในระหว่างสอบสวน ในกรณีดังกล่าว หากผู้ต้องหาต้องการ

ประกันตัวและเจ้าหน้าที่ตำรวจอนุญาตให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาชั่วคราวโดยมีประกัน

แล้ว ผู้ต้องหาต้องจัดหาหลักทรัพย์ บุคคล หรือเอกสารใดๆ ที่ได้กำหนดไว้เพื่อใช้ใน

การประกันตัว

ผู้มีสิทธิ์ยื่นขอประกันตัว คือ

๑. ผู้ต้องหา

๒.ผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง เช่น ญาติ พี่น้อง นายจ้าง ผู้บังคับบัญชา เป็นต้น ซึ่งมักเรียกกันว่า “นายประกัน”

 หลักทรัพย์ที่ใช้ในการประกันตัวผู้ต้องหา

หลักประกันที่ใช้ประกันได้ หลักฐานประกอบการประกันตัว                              
๑. โฉนดที่ดิน น.ส.๓ ก.,น.ส.๓                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                     ๑. โฉนด น.ส.๓ หรือ น.ส.๓ ก. พร้อมถ่ายเอกสารหน้า-หลัง ๑ ชุด ๒. สำเนาบัตรประชาชน/ทะเบียนบ้านเจ้าของที่ดิน ๑ ชุด ๓. หนังสือรับรองราคาประเมินที่ดิน (จากสำนักงานที่ดิน) ออกไม่เกิน ๑ เดือน (ฉบับจริง)                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                      
 ๒.สมุดเงินฝากประจำ๑. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของสมุดเงินฝาก ๒.  หนังสือรับรองยอดเงินจากธนาคาร (ฉบับจริง)  
๓.พันธบัตร,ฉลากออมสิน,สลากทวีสิน ๑. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของพันธบัตรหรือสลากออมสิน ๒. พันธบัตร, สลากออมสิน, สลากทวีสิน  
๔.ตำแหน่งข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ข้าราชการบำนาญ (ข้าราชการทุกประเภทประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยได้ในวงเงิน ๑๐ เท่าของเงินเดือนหรือรายได้ต่อเดือน)๑. สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ ลูกจ้างหรือข้าราชการบำนาญ และสำเนาทะเบียนบ้าน     ๑ ชุด                                                                                                                                 ๒. หนังสือรับรองเงินเดือนจากต้นสังกัด (ฉบับจริง)  ๑ ชุด ๓. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน                                                                                                       
 ๕.กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพหรือหนังสือรับรองบริษัทประกันภัย๑. กรมธรรม์ประกันภัยหรือหนังสือรับรองฉบับจริง ๒. หนังสือมอบอำนาจบริษัทประกันภัยฉบับจริง  ๑  ชุด ๓. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนกรรมการผู้มีอำนาจ  ๑ ชุด ๔. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบอำนาจ  ๑ ชุด  

            –  ขั้นตอนการขอยื่นประกันตัวผู้ต้องหา

                   ๑. ผู้ประกันยื่นหลักทรัพย์พร้อมหลักฐานให้เจ้าหน้าที่ที่ทำประกันสำนักงานอัยการจังหวัดเลยตรวจสอบ

                   ๒. เจ้าหน้าที่ผู้ทำประกัน ตรวจสอบหลักฐาน ถ้าถูกต้องครบถ้วนเจ้าหน้าที่ฯ จะพิมพ์คำร้องและสัญญาประกัน

                   ๓. ผู้ขอรับประกัน/ผู้ต้องหา  ลงชื่อในคำร้องขอประกันและสัญญาประกัน

                   ๔. เจ้าหน้าที่ผู้ทำประกัน เสนอคำร้องและสัญญาประกันให้อัยการจังหวัดหรือผู้ได้รับมอบหมายอนุญาต

                   ๕. ถ้าอัยการจังหวัดอนุญาตให้ประกันตัว เจ้าหน้าที่จะมีแจ้งคำสั่งปล่อยตัวและออกใบนัดให้ผู้ขอประกันและผู้ต้องหาทราบ

                   ๖. ถ้าอัยการจังหวัดไม่อนุญาตให้ประกัน  เจ้าหน้าที่ฯ จะตรวจคืนหลักประกันและแจ้งคำสั่งให้ทราบ

 ***    หากมีข้อสงสัยเรื่องขอประกันตัวให้สอบถามเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดเลยเท่านั้น อย่าหลงเชื่อผู้แอบอ้าง

        ว่าสามารถวิ่งเต้นช่วยเหลือในการประกันตัวโดยเรียกรับทรัพย์สินเงินทองโดยเด็ดขาด            

หลักทรัพย์ในการประกันตัวผู้ต้องหา

 ข้อหา  วงเงินประกัน (บาท)
 ลักทรัพย์ รับของโจร   ยักยอก วิ่งราว  ๕๐,๐๐๐ – ๒๐๐,๐๐๐
 กรรโชกทรัพย์ รีดเอาทรัพย์  ๙๐,๐๐๐ – ๒๐๐,๐๐๐
 ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์  ๑๕๐,๐๐๐ – ๕๐๐,๐๐๐
 ข่มขืน พรากผู้เยาว์  ๒๐๐,๐๐๐ – ๕๐๐,๐๐๐
 อนาจาร  ๒๐๐,๐๐๐ – ๕๐๐,๐๐๐
 ข้อหา  วงเงินประกัน (บาท)
 ทำร้ายร่างกาย  ๔๐,๐๐๐ – ๒๐๐,๐๐๐
 ทำให้คนตายโดยประมาท  ๑๒๐,๐๐๐ – ๒๕๐,๐๐๐
 พยายามฆ่า  ๒๕๐,๐๐๐  บาทขึ้นไป
 ฆ่าผู้อื่น  ๔๐๐,๐๐๐  บาทขึ้นไป
 ฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน  ๔๐๐,๐๐๐  บาทขึ้นไป
 ฉ้อโกง ทำให้เสียทรัพย์ บุกรุก  ๕๐,๐๐๐ – ๒๐๐,๐๐๐
 ปลอมเอกสาร  ๗๐,๐๐๐ – ๒๐๐,๐๐๐
   เช็ค    ไม่เกินหนึ่งในสามของ จำนวนเงินในเช็คแต่ไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐
 อาวุธปืน ป่าไม้ ป่าสงวนฯ วัตถุออกฤทธิ์ฯ ยาเสพติด อื่นๆ   ๕๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป

การตีราคาหลักประกันในกรณีที่ใช้ตำแหน่งบุคคลค้ำประกัน 

 ข้าราชการการเมือง วงเงินประกัน
 ข้าราชการการเมืองท้องถิ่น เช่น – ประธานสภาองค์การบริหารส่วน     จังหวัด – หรือนายกองค์การบริหารส่วน    จังหวัด            -รองประธานสภาองค์การบริหารส่วน     จังหวัด   – สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วน    จังหวัด,   ตำบล      ๖๐,๐๐๐บาท ถึง ๕๐๐,๐๐๐ บาท
 กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน  ๖๐,๐๐๐ บาท
 ข้าราชการพลเรือน พนักงานรัฐวิสาหกิจ  วงเงินประกัน
 ข้าราชการหรือพนักงาน ต่ำกว่าระดับ ๓   เงินเดือนระดับ ๓  ๖๐,๐๐๐ บาท
 ระดับ ๓-๕  ๖๐,๐๐๐   บาท
 ระดับ ๖-๘  ๒๐๐,๐๐๐ บาท
 ระดับ ๙-๑๐  ๕๐๐,๐๐๐ บาท
 ระดับ ๑๑  ๘๐๐,๐๐๐ บาท
 ข้าราชการทหารและตำรวจ  วงเงินประกัน
 ข้าราชการชั้นประทวนอาจเทียบเงิน เดือนชั้นสัญญาบัตร  ๖๐,๐๐๐บาท
 ร้อยตรี เรือตรี   เรืออากาศตรี ถึง พันตรี นาวาตรี   นาวาอากาศตรี  ๖๐,๐๐๐บาท
 พันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ถึง พันเอก นาวาเอก   นาวาอากาศเอก  ๒๐๐,๐๐๐บาท
 พลตรี พลเรือตรี   พลอากาศตรี ถึง พลโท พลเรือโท   พลอากาศโท  ๕๐๐,๐๐๐บาท
 พลเอก พลเรือเอก   พลอากาศเอก  ๘๐๐,๐๐๐ บาท
 ทนายความ (จำนวนปีที่ว่าความ)  วงเงินประกัน
 ไม่ถึง ๒ ปี (เฉพาะตนเอง)  ๖๐,๐๐๐   บาท
 ๒ ปี ไม่ถึง ๕ ปี  ๖๐,๐๐๐   บาท
 ๕ ปี ไม่ถึง ๑๕ ปี  ๒๐๐,๐๐๐  บาท
 ๑๕ ปีขึ้นไป  ๕๐๐,๐๐๐   บาท

หมายเหตุ

                ๑. ข้าราชการฝ่ายอื่นให้เทียบตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด

                ๒. ทนายความประกันได้เฉพาะญาติสนิทตาม ปพพ.ม.๑๖๒๙ และคู่สมรส

    ๓.ในกรณีใช้สมุดฝากเงินของธนาคาร จะต้องนำหนังสือรับรองยอดเงินคงเหลือปัจจุบันของธนาคารมาแสดงด้วย

                ๔. ในกรณีใช้โฉนดที่ดิน น.ส. ๓ หรือ น.ส.๓ก. ต้องมีหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินของเจ้าพนักงานที่ดินหรือนายอำเภอท้องที่มาแสดงด้วย

                ๕. ในกรณีที่ผู้เป็นเจ้าของหลักทรัพย์ ต้องการมอบอำนาจให้ผู้อื่นนำหลักทรัพย์มาประกันแทนตน ใบมอบอำนาจจะต้องทำ ณ ที่ว่าการ

อำเภอซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ โดยมีนายอำเภอหรือพนักงานฝ่ายปกครองลงลายมือชื่อรับรองและประทับตราเป็นสำคัญด้วย

หลักฐานที่ต้องใช้ในการประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย

๑. บัตรประจำตัวของผู้ต้องหาหรือจำเลย

๒. บัตรประจำตัว สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกันและคู่สมรส (ถ้ามี)

๓. ในกรณีผู้ประกันมีคู่สมรส จะต้องมีหนังสือยินยอมของคู่สมรสด้วย ถ้าคู่สมรสเสียชีวิตหรือหย่ากันแล้ว จะต้องมีใบมรณบัตรหรือใบหย่า

      มาแสดงด้วย

ต้องดำเนินการอย่างไร เสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

                ผู้ขอประกันสามารถยื่นหลักทรัพย์ที่เจ้าหน้าที่ของสำนักงานอัยการจังหวัดเลย ซึ่งโดยปกติมีเจ้าหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกให้ใน

การเขียนประกัน โดยผู้ขอประกันไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ