การประกันตัว

การประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดี  

      การประกันตัวคืออะไร
      การประกันตัว คือ การขอให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาในระหว่างการสอบสวนหรือขอให้ปล่อยจำเลยในระหว่างพิจารณาอุทธรณ์ ฎีกา เป็นการชั่วคราว

  ผู้มีสิทธิ์ยื่นขอประกัน
       1. ผู้ต้องหาหรือจำเลย
       2. ผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องเช่น ญาติพี่น้อง นายจ้าง ผู้บังคับบัญชา หรือเพื่อนเป็นต้น ซึ่งมักเรียกกันว่า “นายประกัน”

  หลักทรัพย์ที่ประกันตัวต้องไม่มีภาระผูกพันอันอาจกระทบต่อการบังคับคดีได้อาจใช้หลักทรัพย์ ต่อไปนี้
       1. โฉนดที่ดิน / น.ส.3 / น.ส. 3 ก.
       2. พันธบัตรรัฐบาล, สลากออมสิน บัตรหรือสลากออมทรัพย์ทวีสินของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร, ใบรับเงินฝากประจำของธนาคาร, ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่ายและธนาคารผู้จ่ายได้รับรองตลอดได้แล้ว, ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้ออกตั๋ว,เช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่ายหรือรับรองซึ่งสามารถเรียกเก็บเงินได้ในวันที่ทำสัญญาประกัน และหนังสือรับรองของธนาคารเพื่อชำระเบี้ยปรับแทนในกรณีผิดสัญญาประกัน
       3. เงินสด
       4. ใช้บุคคลเป็นประกันหรือหลักประกัน

 หลักฐานประกอบหลักประกัน

    ที่ดิน
 – ใบประเมินราคาที่ดิน
 – โฉนดที่ดิน/น.ส.3ก./น.ส.3
 – สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของที่ดิน, คู่สมรส
 – หนังสือให้ความยินยอมของคู่สมรส
 – สำเนาทะเบียนบ้าน, ทะเบียนสมรส
 – สำเนาทะเบียนหย่า, ใบมรณบัตร

 กรณีมอบอำนาจ
  – ต้องมอบอำนาจจากที่ว่าการอำเภอหรือที่ศาลต่อหน้าเจ้าหน้าที่เท่านั้น ต้องนำสำเนาบัตรประจำตัวและสำเนาทะเบียนบ้าน
    ของผู้รับมอบอำนาจมาด้วย หนังสือมอบอำนาจต้องปิดแสตมป์ 30 บาท ต่อ 1 คน

  เงินสด
  – สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  – สำเนาทะเบียนบ้าน

 หลักทรัพย์อย่างอื่น เช่น สมุดเงินฝาก
  – หนังสือรับรองของธนาคารว่ามียอดเงินฝากอยู่จริง
  – หนังสืออายัดยอดเงินฝาก
  – สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของสมุดเงินฝาก
  – สำเนาทะเบียนบ้าน

 ใช้ตำแหน่ง
  – หนังสือรับรองของต้นสังกัด (พร้อมระบุเงินเดือนหรือรายได้)
  – สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ
  – สำเนาบัตรประจำตัวของคู่สมรส
  – หนังสือให้ความยินยอมของคู่สมรส
  – สำเนาทะเบียนบ้าน, ทะเบียนสมรส
  – สำเนาทะเบียนหย่า, ใบมรณบัตร

 ขั้นตอนการขอให้ปล่อยชั่วคราว (ประกันตัว)
  – ยื่นหลักฐานเอกสารเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนและเบิกสำนวนคดี
  – เจ้าหน้าที่เขียนคำร้องขอปล่อยชั่วคราว บัญชีทรัพย์ สัญญาประกัน และพิมพ์หมายปล่อย(ถ้ามี)
  – เจ้าหน้าที่นำเสนอผู้พิพากษาหัวหน้าศาล หรือผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนเพื่อพิจารณาสั่ง
  – เจ้าหน้าที่เก็บหลักประกันออกหลักฐานการรับหลักทรัพย์หรือเงินสดแจ้งนายประกันทราบคำสั่งศาลและออกใบนัดส่งตัวผู้ต้องหา     หรือจำเลยครั้งต่อไปให้นายประกัน

  หมายปล่อย
กรณีถูกควบคุมตัวที่เรือนจำ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์จะมารับหมายปล่อยที่ศาลแล้วจะปล่อยตัวที่เรือนจำ ประมาณ 13.00 น. 
และ 16.00 น.

      อนึ่ง
การขอประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย ไม่มีค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ฉะนั้นหากมีผู้ใดเรียกเก็บเงินหรือเรียกผลประโยชน์อย่างใดแล้ว ให้เชื่อได้ว่าผู้นั้นกำลังหลอกลวงท่าน ให้ท่านรีบร้องเรียนต่อผู้พิพากษาหัวหน้าศาลผู้พิพากษาหรือผู้อำนวยการสำนักงานโดยเร็วการใช้บุคคลเป็นประกันหรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวตามระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม

       1. เป็นผู้มีตำแหน่งหน้าที่การงานหรือมีรายได้แน่นอน เช่น ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการบำนาญ สมาชิกรัฐสภา ผู้บริหารราชการส่วนท้องถิ่น พนักงานองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น พนักงานของรัฐประเภทอื่นๆ ลูกจ้างของทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารพรรคการเมือง หรือทนายความ
       2. เป็นผู้มีความสัมพันธ์กับผู้ต้องหาหรือจำเลย เช่น เป็นบุพการี ผู้สืบสันดาน สามี ภรรยา ญาติพี่น้อง ผู้บังคับบัญชา นายจ้าง
บุคคลที่เกี่ยวพันโดยทางสมรสหรือบุคคลที่ศาลเห็นว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเสมือนเป็นญาติพี่น้องหรือมีความสัมพันธ์ในทางอื่นที่ศาลเห็นสมควรให้ประกันได้
       3.ให้ยื่นคำร้องด้วยตนเองและให้เสนอหนังสือรับรองจากต้นสังกัดหรือนายจ้างหรือหลักฐานอื่นที่เชื่อถือได้และหากผู้ขอประกันมีคู่สมรสให้แสดงหลักฐานการยินยอมของคู่สมรสด้วย ในกรณีฉุกเฉินไม่อาจเสนอหนังสือรับรองได้ทันให้ผ่อนผันโดยแสดงหลักฐานอื่น เช่น บัตรประจำตัวที่แสดงฐานะเช่นนั้นและให้นำหนังสือรับรองหรือหนังสือยินยอมมาแสดงภายหลัง
       4. ให้ทำสัญญาประกันได้ ในวงเงินไม่เกิน 10 เท่า ของอัตราเงินเดือน หรือรายได้เฉลี่ยต่อเดือน
       5. หากวงเงินประกัน มียอดสูงกว่าเงินที่ผู้นั้นมีสิทธิประกันได้ ศาลอาจกำหนดให้ผู้ขอประกันวางเงินหรือหลักทรัพย์เพิ่มเติมได้

       หมายเหตุ  ดูราคาหลักประกันที่ใช้ประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดี