ผู้ถูกสั่งลงโทษปลอดออก แต่ภายหลังปรากฏว่าไม่มีความผิด จึงเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวอย่างไร

ผู้ถูกสั่งลงโทษปลอดออก แต่ภายหลังปรากฏว่าไม่มีความผิด จึงเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวอย่างไรตอบ แยกเป็น ๒ กรณี ได้แก่ ๑. การยื่นอุทธรณ์ต่อ ก.จังหวัด ๒. การฟ้องคดีต่อศาลปกครองอธิบาย ๑. ข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้ถูกสั่งลงโทษทางวินัย สถานปลดออกจากราชการ มีสิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งลงโทษนั้นต่อ ก.จังหวัด ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันรับทราบคำสั่งลงโทษ (ข้อ ๕ ว ๒ และข้อ ๙) หาก ก.จังหวัด พิจารณาอุทธรณ์แล้วมีมติให้ยกเลิกคำสั่งลงโทษปลดออกจากราชการ [ข้อ ๒๑ ก. (๕) (๙)] นั้นเสีย เนื่องจากมิได้กระทำความผิด นายกฯ ต้องสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นตามมตินั้น (ข้อ ๒๓) เป็นเหตุผู้นั้นต้องกลับเข้ารับราชการ และให้ (๑) มีสภาพความเป็นข้าราชการต่อเนื่อง (๒) ได้รับเงินเดือนระหว่างถูกปลดออกจากราชการ เต็มจำนวน [ข้อ ๔ (๒)] (๓) ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือน เลื่อนระดับ และสวัสดิการอื่น ระหว่างถูกสั่งลงโทษปลดออกจากราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น (ได้รับบางอย่าง ต้องศึกษาหลักเกณฑ์เป็นเรื่อง ๆ ไป) หรือ (๔) กรณี ก.จังหวัด มีมติเกี่ยวกับการเยียวยาอื่นใด ให้นายกฯ สั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น ๒. กรณีศาลปกครองมีคำพิพากษาถึงที่สุด ให้นายกฯ สั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามคำพิพากษาถึงทึ่สุด (ม.๗๐ ว ๑) นั้น แต่หากมีคำพิพากษาให้ยกเลิกเพิกถอนคำสั่งลงโทษปลดออกจากราชการ โดยมิได้กล่าวถึงการเยียวยาใด ๆ ย่อมเป็นกรณีต้องปฏิบัติ ตามข้อ ๑.ขอบคุณข้อมูล ชมรมนิติกร อปท.