“เด็ก” ทำสัญญาซื้อขาย, สัญญากู้เงิน, สัญญาจ้างแรงงาน หรือพินัยกรรมสัญญาหรือนิติกรรมได้มั้ย ?
ตามกฎหมายแล้วเด็กที่อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ถือว่าเป็นผู้เยาว์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของพ่อแม่ซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมตามกฎหมาย แล้วแบบนี้ถ้าทำสัญญาหรือนิติกรรม จะมีผลอย่างไร ?
กฎหมายน่ารู้ 79 : ผู้เยาว์ (เด็ก) ทำนิติกรรม-สัญญาได้แค่ไหน?
นิติกรรม คือ การกระทำของบุคคล โดยชอบด้วยกฎหมายและสมัครใจผูกสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ/เปลี่ยนแปลง/โอน/สงวน/ระงับสิทธิ และมุ่งต่อผลในกฎหมาย เช่น สัญญาซื้อขาย, สัญญากู้เงิน, สัญญาจ้างแรงงาน สัญญาให้ และพินัยกรรม เป็นต้น
Q : อายุเท่าไหร่ทำนิติกรรม-สัญญาได้
A : ผู้เยาว์ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว
(1) อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
(2) อายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย (จดทะเบียนสมรส) และพอแม่/ผู้ปกครองทั้ง 2 ฝ่ายยินยอม
(3) อายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ ศาลอนุญาตให้สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะมีเหตุสมควร/จำเป็น (ตั้งครรภ์)
A : ผู้เยาว์ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะทำนิติกรรม-สัญญาด้วยตนเองลำพังไม่ได้ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม (พ่อ/แม่/ผู้ปกครอง)
(1) เป็นหนังสือ
(2) วาจา
(3) ปริยาย เช่น รับรู้/ไม่ทวงติ่ง-ว่ากล่าว/ให้คำปรึกษา/ลงชื่อเป็นพยานในสัญญา/ช่วยติดต่อเป็นธุระให้
A : ถ้าไม่ได้รับความยินยอม นิติกรรม-สัญญาจะตกเป็น “โมฆียะ”
(1) มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายจนกว่าจะถูกบอกเลิกสัญญา
(2) ผู้แทนโดยชอบธรรมบอกเลิกนิติกรรม-สัญญาได้
(3) ผู้แทนโดยชอบธรรมยืนยันการทำนิติกรรม-สัญญาได้
Q : นิติกรรม-สัญญาแบบไหน ? ที่ผู้เยาว์ทำด้วยตนเองได้
A : (1) กิจการที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียวไม่มีทางเสียหาย (เช่น ผู้เยาว์รับทรัพย์สินที่บุคคลอื่นให้โดยเสน่หาโดยไม่มีค่าตอบแทน)
(2) กิจการที่จะต้องทำเองเฉพาะตัว (เช่น การรับรองเด็กเป็นลูก หรือเข้าสู่พิธีสมรส)
(3) กิจการที่สมควรแก่ฐานานุรูป (ฐานะ) จำเป็นเพื่อเลี้ยงชีพตามสมควร (เช่น ซื้อขนม เครื่องเขียน)
(4) ทำพินัยกรรม เมื่ออายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ ถ้าอายุไม่ครบ 15 ปีบริบูรณ์ พินัยกรรมตกเป็น “โมฆะ” (ไม่มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย)