พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2562
เทศบาล
พระ ราชบัญญัติเทศบาล ได้กำหนดรูปแบบโครงสร้างของการจัดองค์การและการบริหารงานของเทศบาลจำลองมา จากการปกครองแบบรัฐสภา ซึ่งเป็นการปกครองประเทศมาใช้กับเทศบาลด้วย ซึ่งได้กำหนดไว้ ตามประเภทของเทศบาลคือ
1. เทศบาลตำบล ได้แก่ ท้องถิ่นซึ่งมีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบล
2. เทศบาลเมือง ได้แก่ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด หรือท้องถิ่นชุมชนที่มีประชาชนตั้งแต่ 10,000 คน ขึ้นไป ทั้งมีรายได้พอสมควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามพระราชบัญญัตินี้ และมีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะเป็นเทศบาลเมือง
3. เทศบาลนคร ได้แก่ ท้องถิ่นชุมชนที่มีประชาชน ตั้งแต่ 50,000 คน ขึ้นไป ทั้งมีรายได้พอสมควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามพระราชบัญญัตินี้ และมีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะเป็นเทศบาลนคร
โครงสร้างของเทศบาล
เทศบาลมีโครงสร้างที่สำคัญแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ
1. สภาเทศบาลเป็นองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติของเทศบาล มีหน้าที่ในการตราเทศบัญญัติ อนุมัติงบประมาณประจำปีของเทศบาล และควบคุมการบริหารกิจการของเทศบาล คณะเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาลมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี โดยมีจำนวนสมาชิกสภาเทศบาล ดังนี้
1. เทศบาลตำบล ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 12 คน
2. เทศบาลเมือง ประกอบด้วย สมาชิกจำนวน 18 คน
3. เทศบาลนคร ประกอบด้วย สมาชิกจำนวน 24 คน
2. นายกเทศมนตรี ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารของเทศบาล ประกอบด้วยนายกเทศมนตรีและเทศมนตรี มีจำนวนกำหนดไว้ตามประเภทของเทศบาล ดังนี้
1. เทศบาลตำบล มีนายกเทศมนตรี 1 คน และเทศมนตรี 2 คน
2. เทศบาลเมือง มีนายกเทศมนตรี 1 คน และเทศมนตรี 2 คน แต่ในกรณีที่เทศบาลเมืองแห่งใด มีรายได้จัดเก็บตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไป ให้มีเทศมนตรีเพิ่มได้อีก 1 คน
3. เทศบาลนคร มีนายกเทศมนตรี 1 คนและเทศมนตรีอีก 4 คน
นายกเทศมนตรี มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระไม่ได้
ผู้ ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้งนายกเทศมนตรีและเทศมนตรี จากผู้ที่เป็นสมาชิกสภาเทศบาล ด้วยความเห็นชอบของสมาชิกสภาเทศบาล คณะเทศมนตรีมีอำนาจหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบการบริหารกิจการของเทศบาลตาม กฎหมาย โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า