ถ้าได้กระทำความผิดทางอาญาแล้ว และสำนึกในการกระทำความผิดรวมถึงยอมรับสารภาพต่อพนักงานสอบสวนและศาล แล้วจะมีเหตุบรรเทาโทษหรือเหตุลดโทษตามกฎหมายอย่างไรบ้างรวมทั้ง ตัวอย่างคดีที่ศาลตัดสินใจให้ลดโทษเป็นอย่างไร
เหตุบรรเทาโทษตามกฎหมายมี 7 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. เป็นผู้โฉดเขลาเบาปัญญา
2. ตกอยู่ในความทุกข์อย่างสาหัส
3. มีคุณความดีมาก่อน
4. รู้สึกความผิดและพยายามบรรเทาผลร้าย
5. ลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงาน
6. ให้ความรู้แก่ศาลเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา
7. เหตุอื่น ๆ ในลักษณะทำนองเดียวกัน
ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกา/เหตุบรรเทาโทษ
1. ตกอยู่ในความทุกข์อย่างสาหัส
– การไม่รู้หนังสือและกฎหมายไทย ไม่มีญาติพี่น้องจะติดต่อขอความช่วยเหลือ ถือว่าตกอยู่ในความทุกข์อย่างแสนสาหัส คำพิพากษาฎีกาที่ 1244/2542
2. มีคุณความดีมาก่อน
– รับสารภาพชั้นสอบสวนและเคยช่วยเหลือราชการ มีเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่ 744/2521
3. รู้สึกความผิด พยายามบรรเทาผลร้าย
– พาผู้เสียหายมาคืนพร้อมเงินขอขมา และอยู่กินด้วยกัน ถือเป็นเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่ 1665/2520
– ช่วยยกรถจักรยานยนต์ที่ทับขาผู้เสียหาย ถือว่าพยายามบรรเทาผลร้าย มีเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่ 4197/2540
– ชดใช้ค่าเสียหายและออกค่ารักษาพยาบาล เป็นเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่ 5296/2540
– ชดใช้เงินค่าเสียหายถอนคำร้องทุกข์ ถือว่าพยายามบรรเทาผลร้าย เป็นเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่ 5598/2540
– อายุน้อย พฤติการณ์ไม่รุนแรง และและชดใช้ค่าเสียหาย ถือว่ามีเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่ 763/2541
– พฤติการณ์ที่นำผู้ตายส่งโรงพยาบาล บอกชื่อสารพิษที่ผู้ตายกิน ออกค่ารักษาพยาบาล ถือว่าเป็นการบรรเทาผลร้าย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3337/2543
– ศาลวินิจฉัยโดยมิได้แจ้งให้ผู้เสียหายรับเงิน ต้องคืนเงินจำเลย คำพิพากษาฎีกาที่ 138/2547
4. ลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงาน
– ยินยอมให้จับกุม และมอบของกลางแก่เจ้าพนักงานตำรวจ เป็นเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่ 479/2520
– ยินยอมให้จับกุมและรับสารภาพทั้งที่ไม่มีประจักษ์พยาน เป็นเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษากาที่ 29/2535
– เข้ามอบตัวต่อเจ้าพนักงาน เป็นการลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงาน มีเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่ 347/2500, 262/2510, 1103/2510, 425/2512, 1449/2513, 1790/2521, 1465/2522, 2754/2524, 2100/2531, 2104/2533
– มอบตัวช้า ไม่มีเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่ 1666/2520
– แม้มีพยานหลักฐานที่สามารถนำสืบพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้ โดยไม่ต้องใช้คำรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน แต่พฤติการณ์ที่จำเลยยอมมอบตัว ทั้งที่มีอาวุธปืนพร้อมกระสุนปืนอยู่ เป็นเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่ 1473/2544
5. ให้ความรู้แก่ศาล เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา
กรณีที่ถือเป็นเหตุบรรเทาโทษ
– รับสารภาพชั้นจับกุมหรือสอบสวน เป็นการลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงาน มีเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่ 1209/2521, 894/2525, 234/2530, 825/2530, 1963/2531, 108/2540
– รับสารภาพชั้นจับกุมและสอบสวน ปฎิเสธชั้นศาล และศาลนำคำให้การรับสารภาพประกอบการวินิจฉัย มีเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกา 1281/2508, 2377/2525, 2548/2525, 7279/2541, 7579/2541, 5368/2542,
– รับสารภาพก่อนสืบพยาน โดยมิได้จำนนต่อพยานหลักฐาน เป็นเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่ 1001/2512
– ให้การรับสารภาพ โดยไม่ต้องสืบพยาน มีเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่ 1958/2518, 437/2530, 1651/2535, 3353/2541
– หากจำเลยเบิกความรับบางประเด็น มีเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่ 817/10, 31/2511, 2042/2515, 2033/2528, 2457/2530
– แม้รับสารภาพหลังจากสืบพยานจำเลยบางส่วน ก็มีเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่ 3152/2538
– หากจำเลยเบิกความทำนองรับสารภาพความผิด ถือว่ามีเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่ 3801/2543
– เหตุบรรเทาโทษใช้เฉพาะคดีที่ศาลพิจารณาเท่านั้น ไปลดโทษคดีอื่นไม่ได้ คำพิพากษาฎีกาที่ 5613/2543, 8677/2547, 482/2547
กรณีที่ถือว่าไม่มีเหตุบรรเทาโทษ
– หากนำสืบปฏิเสธคำรับสารภาพ ก็ไม่เป็นเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่ 707/2531, 2003/2531, 1803/2532
– พฤติการณ์ร้ายแรง ไม่มีเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่ 2707/2527
– หากรับสารภาพเพราะจำนนต่อพยานหลักฐาน ไม่มีเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่ 161/2510, 1614/2513, 1913/2514, 617/2526, 1896/2526, 175/2527, 3294/2527, 2538/2528, 1720/2530, 5806/2534, 708/2535, 1449/2535, 426/2541, 1897/2542
– หากปรากฎว่า เฉพาะแต่เพียงพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบ ก็ฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิด โดยไม่จำต้องพิจารณาถึงคำให้การของจำเลยในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน ถือได้ว่าจำนนต่อหลักฐาน คำพิพากษาฎีกาที่ 1794/2542, 132/2545
– หากนำสืบปฏิเสธอ้างอุบัติเหตุ ไม่มีเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่ 661/2514
– หากมิได้นำเอาคำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวนมาประกอบการวินิจฉัย ก็ไม่เป็นเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่ 1509/2515
– หากรับสารภาพชั้นสอบสวนเพราะจำนนต่อหลักฐาน ไม่ถือเป็นเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่ 5865/2543, 4211/2546
– หากเจ้าพนักงานตรวจสอบพบการกระทำความผิดและแจ้งข้อหาเพิ่มเติม ไม่เป็นเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่ 209/2545
– แม้ได้รับการศึกษาสูง แต่พฤติการณ์โหดเหี้ยมทารุณ ผิดวิสัยมนุษย์ ก็ไม่มีเหตุลดโทษ คำพิพากษาฎีกาที่ 8688/2543
6. เหตุอื่น ๆ ในลักษณะทำนองเดียวกัน
– ข้อนำสืบของจำเลยไม่เป็นประโยชน์ แต่พฤติการณ์มีเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่ 1955/2515
– หากเป็นกรณีใช้วิธีการที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งการจับกุม ก็มีเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่ 1337/2517
– การที่มิได้ลงมือทำร้าย ไม่เป็นเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่ 312/2520
– การเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ ไม่มีเหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่ 40/2536
– บิดามารดาป่วย มิใช่เหตุบรรเทาโทษ คำพิพากษาฎีกาที่ 378/2534
– ดุลพินิจเหตุบรรเทาโทษ จำเลยหลายคน แตกต่างกันได้ คำพิพากษาฎีกาที่ 5772/2549
ขอขอบคุณข้อมูลจากหนังสือการรอการลงโทษ เหตุบรรเทาโทษ เหตุยกเว้นความรับผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดหย่อนความรับผิด ของท่านสมศักดิ์ เอี่ยมพลับใหญ่ (ผู้พิพากษา)