
การร้องขอต่อศาลตั้งผู้ปกครอง
๑. ญาติของผู้เยาว์ร้องขอต่อศาล
๒. บุคคลที่บิดามารดาที่ตายภายหลังระบุชื่อไว้ในพินัยกรรม
การยื่นคำร้องขอให้ศาลแต่งตั้งผู้ปกครองของผู้เยาว์
❖ เหตุในการยื่นคำร้องขอให้ศาลแต่งตั้งผู้ปกครองของผู้เยาว์
บุคคลที่ยังเป็นผู้เยาว์* ยังหย่อนความสามารถในสายตาของกฎหมาย ไม่สามารถ
จัดการงาน หรือทรัพย์สิน หรือทำนิติกรรมในนามของตนเองได้อย่างเต็มที่ จำเป็นต้องให้บิดา
มารดาซึ่งตามกฎหมายเรียกว่า “ผู้ใช้อำนาจปกครอง” เป็นผู้จัดการแทน แต่ในกรณีที่บิดามารดา
ตาย หรือไม่แน่นอนว่ามีชีวิตอยู่หรือไม่ หรือถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือ
เสมือนไร้ความสามารถ หรือถูกถอนอำนาจปกครอง จำเป็นจะต้องมีบุคคลอื่นมาทำหน้าที่แทน
บิดามารดา ซึ่งตามกฎหมายเรียกว่า “ผู้ปกครอง” ซึ่งผู้ปกครองที่ได้รับการแต่งตั้งจากศาลแล้ว
มีฐานะตามกฎหมายในทำนองเดียวกับบิดามารดา ในอันที่จะคุ้มครองดูแลและจัดการทรัพย์สิน
ของผู้เยาว์
ตัวอย่าง ผู้เยาว์ซึ่งไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง จำเป็นต้องทำหนังสือ
เดินทาง, จำเป็นต้องเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาในและต่างประเทศ หรือทำธุรกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สิน
ซึ่งต้องได้รับความยินยอม หรือกระทำโดยผู้ใช้อำนาจปกครอง
คุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นผู้ปกครอง
✓ บรรลุนิติภาวะแล้ว
✓ ไม่มีลักษณะต้องห้ามอันได้แก่
- ผู้ซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
- ผู้ซึ่งเป็นบุคคลล้มละลาย
- ผู้ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์หรือทรัพย์สินของผู้เยาว์
- ผู้ซึ่งเคยมีคดีในศาลกับผู้เยาว์ หรือกับผู้บุพการี/พี่น้องร่วมบิดามารดา/พี่น้อง
ร่วมแต่บิดามารดาของผู้เยาว์ - ผู้ซึ่งบิดาหรือมารดาที่ตายทำหนังสือระบุชื่อ ห้ามมิให้เป็นผู้ปกครอง
❖ เขตอำนาจศาล
ศาลเยาวชนและครอบครัวในท้องที่ที่มูลคดีเกิด หรือในท้องที่ที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนา