คดีฉ้อโกง


ความผิดฐานฉ้อโกง ถือเป็นความผิดที่ยอมความกันได้ ซึ่งหมายถึงผู้เสียหายและผู้กระทําความผิด สามารถเจรจา   คืนทรัพย์สิน หรือชำระค่าเสียหายเพื่อยุติคดี แต่ยกเว้น “ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน” ผู้เสียหายต้องดําเนินการแจ้งความ   หรือฟ้องคดีภายในเวลา 3 เดือน นับตั้งแต่ทราบเรื่องและรู้ตัว ผู้กระทําผิด ไม่เช่นนั้น คดีจะขาดอายุความ

Law เป็นประเด็น : ฉ้อโกงประชาชนไม่ได้ดูจำนวนคน…แต่ดูที่เจตนา เมื่อ..
❌ แสดงข้อความเท็จ หลอกลวง หรือปิดบังความจริง
❌ มีเจตนาให้คนทั่วไปทุกคนหลงเชื่อ ไม่เจาะจง
❌ ไม่จำเป็นต้องมีผู้เสียหายถึง 10 คนขึ้นไป

🧟‍♂️ ฉ้อโกงประชาชน
⚖️ จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1 แสน หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

🧟‍♂️ แต่จะมีโทษเพิ่มขึ้น ถ้า..
❌ แสดงตัวเป็นคนอื่น แอบอ้างเป็นคนอื่น หรือ
❌ หลอกลวงเด็ก หรือ คนที่มีความอ่อนแอทางจิต
⚖️ จำคุก 6 เดือน – 7 ปี หรือ ปรับตั้งแต่ 1 หมื่น – 1 แสน

📜 คำพิพากษาย่อสั้นศาลฎีกาที่ 5292/2540 : การแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 ไม่ได้ถือเอาจำนวนผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงว่ามากหรือน้อยแต่ถือเอาเจตนาแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนเป็นสำคัญและไม่จำเป็นที่จำเลยจะต้องกระทำการดังกล่าวด้วยตนเองมาตั้งแต่ต้นทุกครั้งเพียงแต่จำเลยแสดงข้อความอันเป็นเท็จแก่ผู้เสียหายบางคนแล้วมีการบอกต่อกันไปเป็นทอด ๆ 

เมื่อผู้เสียหายคนหลังทราบข่าวและมาสอบถามจำเลย จำเลยได้ยืนยันแสดงข้อความอันเป็นเท็จนั้นและให้ผู้เสียหายไปติดต่อที่แฟลตทุกครั้ง อันถือได้ว่าเป็นสำนักงานของจำเลยกับพวก แม้จะไม่มีการประกาศรับสมัครงานปิดไว้ก็ตาม 
การกระทำของจำเลยก็เป็นการฉ้อโกง ประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 แล้ว >>>อ่านเพิ่มเติม https://deka.in.th/view-11938.html

#กฎหมายน่ารู้#สำนักงานกิจการยุติธรรม#กระทรวงยุติธรรม#ชื่นใจคนไทยรู้กฎหมาย#โกงแชร์#ฉ้อโกงประชาชน#แม่มณี

ที่มา : ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341-343

กดแชร์