การหย่า
๑. หย่าด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย
๑.๑ ต้องทำเป็นหนังสือมีพยาน ๒ คน
๑.๒ ต้องจดทะเบียนการหย่า
๒. หย่าโดยคำพิพากษาของศาล
เหตุฟ้องหย่า
๑. สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้
หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
๒. สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่
ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติ
ชั่วอยู่ต่อไป หรือ
ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะและความ
เป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาค านึงประกอบ
อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได
๓. สามีหรือภริยาท าร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาท หรือเหยียด
หยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรงอีกฝ่ายหนึ่งนั้น
ฟ้องหย่าได้
๔. สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
๔.๑ สามีหรือภริยาต้องค าพิพากษาถึงที่สุดให้จ าคุก และได้ถูกจ าคุกเกินหนึ่งปี
ในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระท าความผิด หรือยินยอม หรือรู้เห็น
เป็นใจในการกระท าความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีก
ฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
๔.๒ สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา
ได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามค าสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี
ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
๕. สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิล าเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลา
เกินสามปีโดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
๖. สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรหรือท าการ
เป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระท านั้นถึงขนาด
ที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามี
ภริยามาค านึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
๗. สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้
กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้อง
หย่าได้
๘. สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ท าให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้อง
หย่าได้
๙. สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมี
ลักษณะเรื้อรัง ไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
๑๐. สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายท าให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล
อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
ข้อยกเว้นเหตุหย่า
๑. การยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจของฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่า
๒. เหตุหย่าเป็นเหตุเล็กน้อย (กรณีท าทัณฑ์บน)
๓. ฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าให้อภัยแล้ว
๔. เหตุฟ้องหย่าตาม (๑๐) เกิดเพราะการกระท าของฝ่ายฟ้องหย่า
๕. ขาดอายุความ
คุ้มครองชั่วคราวในระหว่างฟ้องหย่า
๑. สินสมรส
๒. ที่พักอาศัย
๓. การอุปการะเลี้ยงดู
๔. การพิทักษ์อุปการะบุตร
การใช้อ านาจปกครองบุตรหลังหย่า
๑. บุตรที่อ่อนอายุอยู่กับมารดา
๒. บุตรที่อยู่ในความดูแลของฝ่ายใดอยู่แล้วควรอยู่กับฝ่ายนั้นต่อไป
๓. บุตรทั้งหลายควรอยู่ในครอบครัวเดียวกัน
๔. ความประสงค์และความรู้สึกของบุตร
๕. ความสามารถในการจัดการศึกษาอบรม
๖. ความสามารถในการหาที่พักอาศัย
๗. สิ่งแวดล้อม
๘. ความรักใคร่เอ็นดู
ค่าทดแทน
๑. ภริยาประพฤตินอกใจ
๒. สามีประพฤตินอกใจ
ค่าเลี้ยงชีพ
๑. การหย่าเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายเดียว และท าให้อีกฝ่ายยากจนลง
๑.๑ เหตุหย่าเป็นความผิดของฝ่ายเดียว
๑.๒ ยากจนลงเพราะรายได้ไม่พอ
๑.๓ ต้องขอในคดีหย่าหรือฟ้องแย้ง
๒. การหย่าเพราะวิกลจริตหรือโรคติดต่ออย่างร้ายแรง
๓. ตกลงกันเองเรื่องค่าเลี้ยงชีพ
๔. ยกเลิกเมื่อสมรสใหม