
ความเป็นบิดามารดากับบุตรนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีบัญญัติดังนี้
มาตรา 1546 เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชายให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น
มาตรา 1547 เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกันจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเด็กเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
สารบัญ
ข้อสันนิษฐานในการฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตร
- มารดาของเด็กร่วมประเวณีกับชาย
- มารดาของเด็กถูกข่มขืนกระทำชำเรา
- มารดาของเด็กถูกลักพาตัวไปในทางชู้สาว หรือมีการล่อลวงไปประเวณี
- ชายได้จัดทำเอกสารรับรองว่าเด็กเป็นบุตรของตนแล้ว
- ชายเป็นผู้แจ้งการเกิดของเด็ก
- บิดามารดาได้อยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผยเป็นที่รู้แก่คนทั่วไป
- มีพฤติการณ์ที่ฝ่ายชายทำให้รู้กันทั่วไปว่าเด็กเป็นบุตรของตน
ซึ่งที่กล่าวมาเป็นข้อสันนิฐานได้ว่ามารดาของเด็กนั้นอาจตั้งครรภ์ได้ ซึ่งข้อสันนิษฐานดังกล่าวใช้เป็นเหตุในการยื่นคำฟ้องในการรับเด็กเป็นบุตร
กรณีเด็กยื่นฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตร
1. กรณีที่เด็กมีอายุไม่ครบ 15 ปีบริบูรณ์
เป็นกรณีที่ต้องให้ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาลตั้งเป็นผู้แทนเฉพาะคดีก่อน จึงจะดำเนินการฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตร โดยผู้แทนโดยชอบธรรม หมายถึงแม่ของเด็กนั้นเอง หรือกรณีแม่ของเด็กถึงแก่ความตายไปแล้ว ก็ให้ญาติที่สนิทของเด็กหรือให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอต่อศาลให้ตั้งเป็นผู้แทนเฉพาะคดีเพื่อทำหน้าที่แทนเด็กในการดำเนินการฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตร
2. กรณีเด็กมีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้ว
ในกรณีแบบนี้เด็กสามารถฟ้องคดีเอง โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม
3. กรณีเด็กบรรลุนิติภาวะแล้ว
การบรรลุนิติภาวะได้ 2 กรณี คือกรณีแรกเด็กอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์หรือกรณีเด็กนั้นได้ทำการสมรสแล้ว มีสิทธิฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรได้ แต่ต้องยื่นฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันที่บรรลุนิติภาวะ
4. กรณีเด็กถึงแก่ความตายก่อนยื่นฟ้อง
ในกรณีดังกล่าวแม้ว่าเด็กถึงแก่ความตายไปแล้ว ก็ยังมีสิทธิฟ้องคดีของให้รับเด็กเป็นบุตรได้ถ้าเด็กนั้น มีลูก มีหลาน มีเหลน ก็ให้ลูก หลาน ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรได้ แต่ต้องยื่นฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่รู้ว่าเด็กเป็นบุตรของใคร แต่ไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันที่เด็กถึงแก่ความตาย